Thursday, February 26, 2009

สงครามเวียดนาม
วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จครับ ง่วงนอนแล้ว

เวียดนามเคยเป็นส่วนหนึ่งของจีนจนถึง 938 AD ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคมเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 จากนั้นเรื่อยมาก็มีความพยายามที่จะปลดแอกประเทศจากกลุ่มชาตินิยมเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามใต้ดินที่ก่อตัวขึ่นเป็นกลุ่ม Viet Minh ภายใต้การนำของนาย Ho Chi Minh

สมัยสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นเข้ายึดครองเวียดนามจากฝรั่งเศสโดยสั่งจับและปลดอาวุธทหารฝรั่งเศส เปิดช่องให้กลุ่มกองกำลัง Viet Minh พยายามเข้ายึดอำนาจเพื่อประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส แต่เมื่อเมื่อสงครามสิ้นสุดลงและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง แต่การกลับมาครั้งนี้ของฝรั่งเศสได้เพียงครอบครองพื้นที่ทางใต้ของประเทศ โดยมี เมือง Ho Chi Minh City (หรือ Saigon ที่เรียกกันในสมัยนั้น) ขึ้นเป็นเมืองหลวง

Friday, February 20, 2009

สุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี“ (จากพุทธคติ)
สลัดกุ้งญี่ปุ่น
(Japanese prawn salad)

Wednesday, February 18, 2009

China (8): The Heyday

ที่ผ่านมาผมเล่าถึงประวัติศาสตร์จีนยุคต้นศตวรรษที่ 20 อันแสนขมขื่น ไม่รู้ว่าจีนทำเวรทำกรรมอะไรไว้มากมายขนาดใหน บางทีอาจเป็นช่วงประวัติศาสตร์ยุคโบราณ แต่ที่แน่ๆ ผมหวังว่าความขมขื่นเหล่านั้นจะปิดฉากลงในเวลาอีกไม่นาน นโยบาย One-child Policy กำลังจะเห็นผลในเชิงเศรษศาสตร์มหภาพ (แต่หลักฐานทางงานวิจัยยังเป็นที่ถกเถียงว่านโยบายดังกล่าวเห็นผลจริงๆหรือเปล่า) ปัจจุบันจีนเป็นชาติที่มีเงินคงคลังในประเทศหรืำอ National Surplus เหลือสูงเป็นอันดับสามของโลก (โดยเขี่ยเยอรมันตกเป็นอันดับสี่จากรายงานเมื่อปลายปีที่แล้ว) เป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น GDP ของจีนเติบโตขึ้นเป็น 10% อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2003 ธุรกิจก่อสร้างเป็นดรรชนีชี้วัดอีกตัวหนึ่งถึงการเจริญเติบโตทางเศรษกิจของจีน ปัจจันบัน 5 ใน 10 ของอาคารสูงที่สุดในโลกอยู่ในประเทศจีน ทั้งหมดสร้างขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้นี่เอง แน่นอนว่าในสภาวะเศรษกิจหลังวิกฤตแฮมเบอเกอร์ครั้งนี้ ประเทศที่มีเงินคงคลังเหลือมากที่สุดย่อมเป็นต่อ อย่างน้อยก็ในเชิงการกระตุ้นกระแสเงินหมุนเวียนภายในประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ (เหมือนอย่างประเทศไทยในขณะนี้) ซ้ำยังเป็นแหล่งเงินกู้ให้กับประเทศอื่นแล้วคิดดอกเบี้ยเงินกู้แพงๆไ้ด้อีก หรืออาจให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงด้วยเพื่อดึงดูดการลงทุนในตราสารหนี้กับรัฐบาลจีน ไม่แน่ว่าซักวันหนึ่ง ประเทศไทยอาจหันไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลจีนแทนรัฐบาลสหรัฐก็เป็นได้ (เพราะให้ดอกเบี้ยมากกว่า) ถ้าทุกประเทศคิดเช่นนั้นเงินรายได้หมุนเวียนของสหรัฐจากตลาดอนุพันธ์คงร่อยหรอ สหรัฐอเมริกาถึงได้เกรงๆจีนอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ยังไงล่ะครับ

Sunday, February 15, 2009

China (7): One-child Policy

แรงงานจีนในยุคนั้นมีมากและเติบโตจนล้นออกนอกประเทศ ซึ่งก็เป็นที่มาให้รัฐบาลสมัยนั้นอ้างเหตุแก้ปัญหาทางเศรษกิจโดยประกาศ นโยบายลูกหนึ่งคนต่อหนึ่งครอบครัวในปี 1979 หากครอบครัวใดมีบุตรคนที่สองรัฐบาลก็จะลดการสนันสนุนทางการเงิน และอาจต้องจ่ายเบี้ยหวัดให้กับรัฐ รายละเอียดในเรื่องนี้ แตกต่างกันตามมณฑล และเป็นข้อมูลไม่เปิดเผย เพราะนโยบายดังกล่าวเปิดช่องให้เจ้าพนักงานของรัฐฉ้อฉล โดยรับเงินใต้โต็ะเพื่อแลกกับการปิดปากทางการเรื่องจำนวนบุตร และยังทำให้เกิดการทำแท้งผิดกฏหมายกับทารกเพศหญิงอีกจำนวนมากมาย แต่เรื่องนี้ไม่มีงานวิจัยสนับสนุน และไม่มีหลักฐานเพราะเป็นการตกลงกันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเป็นเรื่องเล่าปากต่อปาก เพราะวัฒนธรรมจีนถือว่าชายเป็นผู้สืบสกุล เมื่อทารกที่คลอดออกมาเป็นลูกสาวจึงฆ่าทิ้ง ในบางมณฑลถึงกับต้องออกนโยบายบางอย่างเช่น หากลูกคนแรกเป็นหญิง ให้มีลูกคนที่สองได้อีกแต่ต้องเว้นไปอีก 5 ปี หรือหากคนแรกพิการ ก็ให้มีบุตรคนที่สองได้อีก แต่นโยบายดังกล่าวก็ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการเลือกเพศบุตรเพราะคนที่สองก็ยังอาจเป็นหญิงอีก จนรัฐบาลในยุคต่อมาต้องประกาศให้บุตรที่เกิดมาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้นามสกุลของบิดาหรือมารดาโดยถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้สตรีสามารถสืบวงตระกูลได้เช่นกัน แม้ปัญหาเรื่องการเลือกเพศบุตรจะเบาบางไปมากแล้วสำหรับคนจีนปัจจุบัน ลูกหลานชาวจีนที่เกินขึ้นจากนโยบายนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นรุ่นที่เสียสละเพื่อประเทศโดยแท้ ที่ต้องเติบโตขึ้นมาโดยไม่มีพี่มีน้อง และต้องแบกรับภาระและความหวังจากครอบครัว ประกอบกับการแข่งขันซึ่งสูงมาก ทั้งตลอดชีวิตการเรียน และการทำงาน สภาวะจิตใจของชาวจีนรุ่น 'เสียสละเพื่อชาติ' จะเป็นเช่นไรนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่อาจชดเชยให้ได้ และนโยบายดังกล่าวยังขัดกับสิทธิขึ้นพื้นฐานในการสืบพันธุ์ของมนุษย์อีกด้วย
China (6): Baby boomer

ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่ประเทศจีนต้องล้มลุกคลุกคลานทั้งด้านการเมืองและเศรษกิจ นับเป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่ทรงอิทธิพลกับประเทศจีนในทุกวันนี้ กับระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐใหม่ ซึ่งต้องผ่านการต่อสู้ทางการเมืองช่วงชิงอานาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมาเจ๋อตง กับพรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของ นายพลเจียงไคเช็ก ก่อนที่จะถูกญี่ปุ่นรุกรานช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่สิ้นสุดลงในปี 1945 หลังสงครามประเทศจีนต้องประสพปัญหาทางเศรษกิจรุนแรง แต่ท่ามกลางสภาวะความเครียดทางเศรษกิจการเมืองประชาชนกลับมีบุตรเพิ่มมากขึ้น จนที่สุดสองในสามของประชากรทั้งประเทศอายุไม่เกิน 30 ปี เรียกได้ว่าเป็นยุค baby boom สวนทางกับสภาพเศรษกิจของประเทศจนรัฐบาลเลี้ยงประชากรที่เกิดใหม่ไม่ไหว ประชาชนยากจน ถึงขนาดรัฐบาลต้องส่งเสริมให้แรงงานจีนออกไปทำงานต่างประเทศ เพื่อนำเงินส่งกลับมาให้ครอบครัว จนเป็นกำเนิดของ China town ในเมืองใหญ่ของโลกรวมถึง London China Town หรือแรงงานจีนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนั้นสหรัฐกำลังเติบโตทางเศรษกิจควบคู่ไปกับการทำเหมืองทอง และการขยายทางรถไปทั่วประเทศ ทั้งสองกิจกรรมเป็นงานที่ล้วนแต่มีความเสี่ยงสูง สหรัฐอเมริกาจึงเปิดประเทศต้อนรับแรงงานจากจีนเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ ตามที่เราคงเคยเห็นในภาพยนตร์เรื่อง Shianghai Noon ซึ่งสะท้อนภาพของคนจีนในสังคม Cowboy นอนจากนี้แรงงานจีนยังขยายออกไปยังบางส่วนของภาคพื้นอินโดจีน และ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มจีนโพ้นทะเลแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งโดยมากอภยพมาจากสามมณฑลใหญ่ทางใต้ คือ กวางตุ้ง (Guangdong) ยูนาน (Hunan) ฮกเกี้ยน (Fugian) และตั้งรกรากกระจายทั่วเอเชียอาคเนย์ พร้อมกับก่อกำเนิด China Town ในประเทศ เวียดนาม ไทย อินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ พิลิปินส์ แต่ชาวจีนส่วนใหญ่เมื่อเดินทางออกนอกประเทศแล้ว ก็ไม่ได้กลับบ้านเกิดไปอีกเลย ส่งเพียงเงินที่หาได้กลับไปให้ภรรยาที่เมืองจีน บ้างก็แต่งงานใหม่กับคนท้องถิ่นนั้นๆ สำหรับคนจีนในประเทศไทยนั้น ส่วนมากมาจากอำเภอแต้จิ๋ว ซัวเถา หูเซี้ย และเตี้ยเอี๊ย ซึ่งใช้ภาษาถิ่นเป็นแต้จิ๋วทั้งหมด ทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นที่ใช้กันเฉพาะในกลุ่มคนจีนในประเทศไทย
China (5): Nanjing Massacre

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองที่ยังผลให้จีนมีระบอบการปกครองแบบ Republic of China คนจีนต้องประสบชะตากรรมอันขมขื่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา โดยการถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองเมืองหลวง ซึ่งก็คือ Nanjing ในสมัยนั้น (ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนเป็น Beijing อย่างในปัจจุบัน) สองขั้วการเมืองใหญ่คือ KMT และ CPC ในขณะนั้นหยุดการต่อสู้ทางการเมืองภายในประเทศ และรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการเข้าโจมตีของญี่ปุ่น แต่ที่สุดปี 1937 Nanjing ก็แตกโดยถูกญี่ปุ่นทำลายอย่างราบคาบ ซึ่งต้องถือว่าเป็นช่้วงเวลาที่กองทัพแห่งจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นฮิโรฮิโต้ รุ่งเรืองที่สุดในเอเชีย เพราะสามารถเข้ายึดเอาจีนและเกาหลีเป็นเมืองขึ้นได้ อาจจะเรียกว่าเป็น 'นาซีตะวันออก' ในขณะนั้น หรือบางทีอาจจะโหดเหี้ยมยิ่งกว่า ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ญี่ปุ่นเอา prisoners of war ของฝ่าย Alliances มาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควที่กาญจนบุรีนั้นเอง ต่างกันที่ prisoners of war ที่เมือง Nanjing นั้นได้รับการทรมานอย่างไร้มนุษยธรรมกว่ามาก ดังปรากฏในหนังสือ และภาพยนตร์สารคดีหลายเรื่องเกี่ยวกับคนจีนที่ถูกฆ่าตาย 200,000 - 300,000 คน ที่เรียกกันว่า 'The Nanking Massacre' และกระทำทารุณกรรมเยี่ยงสัตว์ เช่นเอาคนเป็นๆมาทำเป็นหนูทดลองอาวุธเคมีชีวภาพ ดังปรากฏในสารคดี 'จับคนมาทำเชื้อโรค' หรือ 'Unit 731' รวมถึงการข่มขืมเด็กและสตรีกว่า 20,000 ราย ที่รู้จักกันในนาม หรือ 'The Rape of Nanking' เรื่องนี้ทำให้คนจีนและเกาหลีเกลียดชังคนญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน เพราะคนเกาหลีก็ถูกกระทำเยี่ยงเดียวกัน และกลายเป็นเรื่องทางการเมือง เราคงจำข่าวที่ปรากฏเมื่อไม่นานมานี้ไ้ด้ว่าชาวโลกประณามการไปคารวะสุสานทหารผ่านศึกของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ของนายกโคอิสึมิ นั่นก็เพราะทางการญี่ปุ่นไม่เคยขอโทษจีนและเกาหลีจนถึงปัจจุบันและไม่ยอมรับข้อมูลดังกล่าว แม้จะมีหลักฐานพยานปากที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงบันทึก และวีีดีโอจากมิชชันนารีต่างชาติที่อยู่ที่ Nanjing ในสมัยนั้น
China (4): Mao's national policies

สาเหตุหนึ่งที่ประธานเหมาไม่ได้ให้ความสนใจกับการเกิดของ ไต้หวัน คงเป็นเพราะปัญหาของประเทศกับการปกครองระบอบคอมมิวนิสใหม่ภายใต้การหนุนหลัง จากสหภาพโซเวียตในตอนนั้น ส่วนไต้หวันเองก็มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังอยู่เพราะสหรัฐได้ประโยชน์จากประเทศ เกิดใหม่โดยเฉพาะเป็นทุนนิยมด้วย จีนเองคงไม่อยากยุ่งการเมืองระหว่างประเทศเพราะปัญหาภายในกับความยากจนก็มาก พออยู่แล้ว จึงหันหน้ามุ่งเ้น้นสร้างนโยบายชาตินิยมเพื่อพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมต่อไป นโยบายสร้างชาติของประธานเหมาให้บทบาทของสตรีในฐานะแรงงานสร้างชาติมากมาย มีกองทัพทหารหญิงเป็นครั้งแรก ประชาชนต้องขยันขันแข็งทำงานตามแบบฉบับสังคมนิยมเพื่อช่วยสร้างชาติ และประหยัดสุดเพราะประเทศยากจนในขณะที่ประชาชนล้นหลาม ซึ่งนโยบายความประหยัดนี้ยังส่งผลให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ เช่นการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดและคุ้มค่าที่สุด ในครอบครัว เด็กๆจะถูกสอนให้กินข้าวให้หมดทุกเม็ด แล้วค่อยดื่มน้ำโดยให้เทน้ำร้อนที่จะดื่มลงในชามข้าวที่กินหมด เพื่อเป็นการใช้น้ำที่จะดื่มล้างจานข้าวไปในตัว และยังเป็นการเก็บเศษอาหารลงท้องอย่างหมดจด กระดาษหนังสือพิมพ์ถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่ให้ทิ้งขว้าง เช่นนำมาปูโต็ะเป็นผ้าปูโต๊ะ รองลิ้นชักกันเปื้อน นำมาห่อปกหนังสือ ตรงขอบริบกระดา๋ษที่มีพื้นที่ว่างก็ให้ใช้เป็นกระดาษทด หรือบางทีก็นำมาใช้ปิดหน้าต่างแทนผ้าม่าน แม้ในปัจจุบันคนจีนอภยพไปยังต่างแดนก็ยังปฏิบัติกันอยู่ เหล่านี้ล้วนมีผลมาจากนโยบายประหยัดสร้างชาติของประธานเหมาทั้งสิ้น
China (3): Origin of Taiwan

รัฐบาลภายใต้การนำของนายพลเจียงหนีมายังเกาะไต้หวัน กำเนิดเป็นประเทศไต้หวันอย่างในปัจจุบัน และนำแนวคิดเสรีนิยมมาพัฒนาประเทศจนเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ช่วงที่หนีมานี้มีเกร็ดเล่าว่า ขณะที่ขบวนผู้อภยพหนีเข้ามาในเขตไต้หวัน ทหารของรัฐบาลใหม่จากพรรค CPC ก็ติดตามไล่ล่ามาด้วย แต่ระหว่างข้ามทะเลเกิดน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นอย่างประหลาด เลยทำให้ทหารบางส่วนของกลุ่ม CPC ติดอยู่ที่ไต้หวัน และปัจจุบันก็เป็นพลเมืองไต้หวันไปโดยปริยาย รัฐบาลกลางของประธานเหมา เห็นว่ากลุ่ม KMT สิ้นอำนาจลงแล้ว และหนีไปยังเกาะห่างไกลจีงไม่สนใจใช้กำลังทหารไล่ล่าติดตามต่อ จนถึงตอนนี้หากเราไปถามคนจีนแผ่นดินใหญ่สักคน เขาก็ย่อมจะตอบว่าไต้หวันยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจีน เพราะทางการจีนไม่เคยยอมรับการประกาศอิสรภาพของไต้หวันตั้งแต่ต้น ทั้งๆที่ไต้หวันใช้ความพยายามในการไปจดทะเบียนเป็นสมาชิกประเทศของสหประชา ชาติ แต่ไม่นานนัก UN ก็ถูกกดดันจากจีนซึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกทีหลัง และยื่นเงื่อนไขว่าจีนจะเป็นสมาชิกสหประชาชาติก็ต่อเมื่อไต้หวันถอนตัวออกใน ฐานะประเทศสมาชิก เพราะจีนถือว่าเป็นประเทศเดียวกัน ด้วยเหตุนี้หากดูตามมาตรฐานรายชื่อในสหประชาชาติ ก็ต้องถือว่าไต้หวันยังไม่ใช่ประเทศ แต่ถ้ามองทางระบอบการปกครองก็ต้องถือว่าเป็นรัฐอิสระจากจีนเพราะมีระบอบการ ปกครองเป็นของตัวเองซึ่งต่างกันกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ตอนนี้จีนเปิดประเทศแล้ว ความแตกต่างทางด้านแนวคิดทางการปกครองจึงถือว่าน้อยลง แต่หากเราไปถามคนไต้หวัน ก็ยังคงได้รับคำตอบว่าไต้หวันเป็นประเทศและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน สถานการณ์และความสัมพันธ์จีน-ไต้หวันมันก็เลยคลุมเคลืออยู๋เช่นนี้แลจนถึง ปัจจุบัน
China (2): Republic of China

ราชวงศ์ของจีนสิ้นสุดลงที่ราชวงศ์ชิงเมื่อปี 1912 โดยการปฏิวัติรัฐประหารภายใต้การออกแบบและแนวคิดเสรีของ ดร. ซุน ยัดเซ็น ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีนในระบอบสาธารณรัฐ Republic of China แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปฏิวัติ จีนเปิดรับปรัชญาตะวันตกมากขี้น และทำให้แนวคิดในการปกครองประเทศแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน คือเสรีนิยม (right wing) และสังคมนิยม (left wing) ฝ่ายขวาเสรีนิยมก็เติมโตขึ้นมาเป็นพรรคก๊กมินตั๋ง หรืำอ 'Kuomintang' (KMT) ภายใต้การนำของผู็สืบต่ออำนาจจาก ดร ซุน คือ นายพล เจียง ไคเช็ค โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนฝ่ายซ้ายสังคมนิยมก็เติบโตขึ้นมาเป็นพรรคคอมมิวนิส หรือ 'Communist Party of China' (CPC) ภายใต้การนำของ เหมา เซตุง มีศูนย์กลางที่ตอนกลางของประเทศ แรกเริ่มหลังการเปลี่ยนการปกครอง พรรคก๊กมินตั๋งมีอิทธิพลเพราะสามารถใช้กำลังทหารรวมประเทศได้ทั้งหมด แต่การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองพรรคก็ยืดเยื้อยาวนานท่ามกลางปัญหาความยากจนของประชาชน และประเทศที่ไม่มีทิศทางชัดเจนว่าจะไปทางใหน จนผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (1931-1945) ซึ่งเป็นช่วงที่สองพรรคจับมือกับขับไล่การรุกรานจากญี่ปุ่น ซึ่งก็ไม่เป็นผล เมืองหลวง Nanjing ถูกตีแตกและประเทศตกอยู่ใต้อาณัติของจักรพรรดิ์ญึ่ปุ่น เกิดเป็นเรื่องราวNanjing Massacre หรือเหตุการณ์สังหารหมูคนจีนโดยทหารญี่ปุ่นซึ่งผลจะได้เล่าต่อในหัวเรื่องถัดไป แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงและจีนเป็นไทเพราะญี่ปุ่นตกเป็นผู้แพ้สงคราม การต่อสู้ของสองพรรคก็ำดำเนินต่อไป จนกระทั่งปี 1949 CPC สามารถครอบคลุมอำนาจได้จนเกือบทั่วประเทศและเข้ายึดอำนาจรัฐบาลกลาง ทหารและผู้สนับสนุนกลุ่ม KMT รู้การเคลื่อนไหวจึงระเห็ดเอาตัวรอดออกจากประเทศ และหนึ่งในนายทหารของก๊กมินตั๋งก็คือบิดาของ นาย สนธิ ลิ้มทองกุล ที่หนีเดินป่ามายังเมืองไทยผ่านประเทศเวียดนาม
China (1): Opium War

ในยุคปลายราชวงศ์ชิงซึ่งตรงกับยุคล่าอาณานิคมจากตะวันตกประมาณปี 1840 มีจักรพรรดิ์องค์หนึ่งชื่อพระเจ้าเต้ากวง พระองค์พยายามกวาดล้างฝิ่นซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากอังกฤษและโปรตุเกส และคนจีนในสมัยนั้นติดกันงอมแงม ความพยายามที่จะกวาดล้างฝิ่นให้สิ้นสากส่งผลให้มีการลงโทษประหารชีวิตกับพ่อค้าฝิ่นชาวจีน และการล่มเรืออังกฤษที่นำเข้าฝิ่นมายังจีน ทำให้พ่อค้าฝิ่นหยุดเทียบเรือส่งสินค้าแค่ที่เกาะฮ่องกงแทน เพราะไกลจากเมืองหลวง และทำให้ฮ่องกงเป็นเมืองท่าที่พลุกพล่านในการนำเข้าสินค้าจากอังกฤษ เรียกว่าเป็นกำเนิดของเกาะฮ่องกงอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ทางการยังได้ทำลายฝิ่นจำนวมมหาศาล สร้างความไม่พอใจให้กับพ่อค้าชาวต่างชาติทั้งอังกฤษและโปรตุเกส ความชัดแย้งเริ่มรุนแรงขึ้น และชนวนที่ทำให้เกิดสงครามฝิ่นก็คือการที่ชาวจีนคนหนึ่งถูกกะลาสีชาวอังกฤษฆ่าตายที่เกาะเกาลูน และทางการให้ชาวอังกฤษผู้นั้นมารับโทษตามกฏหมายจีน แต่ชาวอังกฤษผู้นั้นปฏิเสธ และหันไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระนางเจ้าวิคตอเลีย ด้วยเหตุนี้พระนางจึงถือเป็นเหตุสั่งยกทัพเรืออังกฤษไปทำสงครามกับจีน ทั้งๆที่ความจริงเป็นเรื่องสงครามของผลประโยชน์มากกว่า ประกอบกับความขัดแย้งในเรื่องการค้าฝิ่นซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว และแน่นอนอังกฤษย่อมเหนือกว่าด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย จนรัฐบาลจีนต้องถูกบีบให้เซ็นสัญญาสงบศึกที่เมืองนานกิง เรียกว่าสนธิสัญญานานกิง เพื่อแรกกับการเสียอธิปไตย ซึ่งผลจากการเซ็นสัญญามีผลให้จีนต้องเสียเกาะฮ่องกงให้กับอังกฤษเป็นเวลา 99 ปี (ซึ่งก็ได้หมดสัญญาไปแล้วเมื่อปี 1997 ที่ผ่านมา) การถูกบังคับนำเข้าฝิ่นอย่างเลี่ยงไม่ได้ และการยอมให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับชาวต่างชาติที่มาค้าขายในจีน นี่เองเป็นมูลเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สภาพสังคมและคุณภาพชีวิตของคนจีนในเวลานั้นย่ำแย่เพราะประชาชนติดยา จนเลยมาถึงช่วงล่มสลายของราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ดังที่เราเห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Last Emperor

Saturday, February 14, 2009

Thursday, February 05, 2009

ประทุมพร วัชรเสถียร

"ผม ยึดหลักในการดำเนินชีวิตคือจะต้องเป็นตัวของตัวเอง ใครจะว่าจะด่าไม่ต้องไปสนใจเพราะเราจะไปควบคุมเขาก็ไม่ได้ และเมื่อรู้เป้าหมายของเราแล้ว ก็พยายามไปสู่เป้าหมายนั้น ทำในสิ่งที่มีอนาคต และต้องเลือกทิศทางที่ตรงกับศักยภาพของตนเอง พยายามทำในสิ่งที่มีมูลค่ากับตัวเอง แค่นี้ก็จะประสบผลสำเร็จในชีวิตได้"

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
มติชนรายวัน ฉบับที่ 9355 [หน้าที่ 21 ] ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2546