Monday, July 27, 2009

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี... รู้ได้อย่างไรว่าตีเพราะรัก?

สมัยอยู๋ ม 1 ผมไม่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะครูดุมาก ผมถูกคาดโทษว่าจะถูกเฆี่ยน 6 หกทีถ้าไม่ทำงานแบบฝึกหัดแล้วนำมาส่งในวันรุ่งขึ้น เรื่องที่จะทำให้เสร็จนั้นเป็นไปไม่ได้เพระผมเลิกทำการบ้านแบบฝึกหัดมาเป็นเดือนแล้ว ผมเป็นเด็กดื้อและใครก็ห้ามผมไม่ได้ จะเฆี่ยนให้ตายก็ทำไม่ได้เพราะที่ผ่านมาเราไม่ได้สนใจเรียนอะไร แล้วตอนนี้งานคั่งค้างสะสมจะทำอย่างไรให้เสร็จภายในข้ามคืน วันนั้นกลับบ้านไปเป็นกังวลมากว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เพราะครูท่านนี้โหด และตีเด็กแรงที่สุดในโรงเรียนของเรา ผมรู้ดีเพราะผมลองมาหมดแล้ว ไม้เรียวยาวเป็นเมตร เวลาหวดก็เต็มวงสวิงเหมือนตีกอล์ฟ

สมัยนั้น corporal punishment เป็นเรื่องที่ยอมรับกันตามภาษิตของไทย รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี จนคนไทย take it granted ว่าถ้ารักให้ตี ความรักเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นการตีจึงดีเช่นกัน แต่จริงเป็นตรรกะที่โง่เขลา เพราะไม่ชัดเจน เหมือนพูดว่าผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงอย่างนี้ ซึ่งไม่จริงเสมอไป รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี จึงผิดถนัด จริงๆเราเคยคิดสักนิดไหมว่าเป็นเพราะมันฟังเพราะ ได้สัมผัสร้อยกรองตรงคำว่า ผูก กับคำว่า ลูก ทั้งๆที่ก็รู้อยู่ว่า คนนะไม่ใช่วัว สุภาษิตนี้จริงๆใช้ได้แต่กับวัวและต้องเปลี่ยนเป็น รักวัวให้ผูก รักวัวให้ตี ไม่ใช่เอาลูกคนไปเปรียบกับวัว corporal punishment เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เป็นสิ่งผิดกฏหมายเพราะสภาพสังคมเปลี่ยน ครูในปัจจุบันไม่เหมือนครูสมัยก่อนแล้ว

ปัญหาคือผู้ปกครองจะรู้ได้อย่างไรว่าครูที่ตีเด็กนั้นจะต้องรักเด็กคนที่ถูกตีเสมอไป ไม่ใช่พ่อใช่แม่ แต่ที่ทำก็เพราะปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นวัฒนธรรมว่าดีต่างหาก ซึ่งพระพุทธเจ้าก็บอกในหลักวรรณากาลามสูตรว่า อย่าเชื่อเพราะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติต่อๆกันมา หรือผมเพิ่มให้อีกข้อหนึ่ง อย่าเชื่อเพราะมันคล้องจองฟังเพราะดี แต่ให้เชื่อเมื่อคิดพิจารญาด้วยปัญญาของตนแล้วเท่านั้น สิ่งที่ใช่ในสมัยหนึ่งอาจไม่ใช่ในเวลาต่อมา คนไทยเชื่อว่าการเฆี่ยนตีจะเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้ อาจจะเปลี่ยนได้ก็แต่เด็กหัวอ่อนและยังไม่มีความคิดเป็นของตัวเองกระมัง แต่เมื่อพัฒนาการทางสมองของเด็กมีมากขึ้นแล้ว การตีจะให้ผลในทางกลับกับทันที จึงเหมาะสมกับเอาไปใช้กับวัวซึ่งมี IQ ต่ำกว่าคน หรือเด็กเล็กๆที่พัฒนการทางสมองยังไม่โตเต็มที่เท่านั้น

ไม่ให้ตีแล้วให้ทำอย่างไร

ตอนอยู่ ป 2 พอเข้าแถวเดินขึ้นห้องตอนเช้าหลังเคารพธงชาติหน้าเสาธง ผมเป็นคนเดียวที่ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษจับมานั่งคุกเข่าหน้าห้องเรียนไม่ยอมให้เข้าห้อง เป็นอยู่อย่างนั้นทั้งเทมอ

"มนตรี...เธอออกไปนั่งคุกเข่านอกห้องก่อนเลย เพราะฉันรู้ว่าเดี๋ยวเธอต้องได้ทำอะไรผิดเข้าสักอย่างแน่ ถ้าไม่ทำการบ้านมา ก็ต้องลืมเอาหนังสือเรียนมาอีก"

เพระฉะนั้นทุกชั่วโมงของการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของผม จะเริ่มต้นด้วยการออกไปนั่งคุกเข้าตรงระเบียงทางเดินหน้าห้องตามระเบียบโดยไม่ต้องให้ครูสั่ง เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเทอม และบางวันคุณพ่ออธิการจะเดินตรวจยามตามระเบียง พร้อมกับไม่เรียว และจะจับเด็กที่นั่งคุกเข่าหน้าประตูห้องตีตรงนั้น โดยไม่ถามอะไรเลย จะเดินไล่ไปเรื่อยๆทั้งตึกเรียนสี่ชั้น ในเทอมต่อมา พ่อผมมอบปากกา Parker เป็นของขวัญให้ครู และเรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นอีกตั้งแต่นั้น

โตขี้นมาหน่อยก็เจอครูบางคน ที่ก็ดีแสนดี พอตีเสร็จแล้วยังทำเป็นพูดดีกับเด็ก บอกว่ารักอย่างนั้นอย่างนี้ ว่าที่ตีก็เพราะรักนะ ทำให้เด็กสับสน ตกลงคือครูใช้ผมเป็นเครื่องระบายอารมณ์ใช่ใหม พอโกรธก็ตีผม พอคิดได้ก็รู้สึกผิดมาทำพูดดีด้วยอย่างนั้นอย่างนี้ ครูวางตัวผิด

ที่ถูกคือบอกให้รู้เลยว่าเหมาะสมแล้วที่ต้องถูกตี และให้ชัดเจนกับเด็กด้วยว่าที่ตีเพราะเป็นเหตุจากที่เด็กก่อขึ้น ที่สำคัญคือต้องต้อนเด็กให้จนมุมและยอมรับด้วยเหตุผลว่าเขาคู่ควรได้รับการลงโทษอันทรงเกียรตินี้แล้วจากครูที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนเขา และ justify เหตุแห่งการตีให้ชัดเจนที่สุด สมัยที่เรียนมัธยมมีครูผู้หนึ่งที่ตีได้ประทับใจผมมาก แม้จะยังตีเจ็บอยู่ แต่จำได้ว่าครูถามก่อนว่าโตขึ้นเธออยากเป็นอะไร ผมตอบอย่างภาคภูมิใจว่าอนาคตผมอยากเป็นนักเขียนครับ ครูถามว่าถ้าเธอเป็นนักเขียนแล้วไม่มีสำนึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเธอ บุคคลอื่นและสังคมจะได้รับความเสียหายอย่างไร เธอจะเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ ผมจำไม่ได้ว่าได้ตอบคำถามนี้หรือไม่อย่างไร แต่ไม่สำคัญ เพราะนั้นเป็นคำถามที่มีคำตอบอยู่ในตัวแล้ว ครูไม่ได้ถามให้ตอบ แต่ถามให้คิด พอครูตีผมเสร็จ ผมบอกครูว่าการกระทำเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก

Thursday, July 16, 2009

I found today the funny thing about the English verb 'dispose'

If you dispose of something, you no longer want it.

So, if you dispose of a problem, you tackle it or deal with it.

But, if you are disposed to so something, you are inclined to do it.
“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก....สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” พุทธภาษิต

Wednesday, July 08, 2009

My next big things!

- The great relaxation
- HUM's Meditation group
- The ice-breaker (English-Thai code-switching) society
- KU student material designers for the blinds
- KU student translators for the CCF children's foundation

Monday, July 06, 2009

กำเนิดภาษาอังกฤษอย่างย่อ (ที่สุด)

ภาษาอังกฤษมีต้นกำเนิดที่เกาะอังกฤษจากภาษาพื้นเมืองเดิมสมัยก่อนศริตกาลของพวก Welsh (Wales) และ Scots (Scotland) ซึ่งมีภาษาที่ใช้กันเป็นกลุ่มภาษา Celtic (หนึ่งในกลุ่ม Indo-European)

ต่อมาช่วงปี 0-400 AD. มีการอภยพของพวก Angles และ Saxons หรือเรียกรวมกันว่า Anglo-saxons (คำว่า Angles ก็เป็นที่มาของคำว่า English ในปัจจุบันนั่นเอง) ซึ่งก็คือพวก Scandinavian (Swedish, Finnish, Nowagian, Dennish ในปัจจุบัน) ซึ่งผู้อภยพกลุ่มนี้นำภาษา Germanic (หนึ่งในกลุ่ม Indo-European เข่นเดียวกันกับ Celtic) เข้ามาทางตะวันออกและตอนใต้ของเกาะอังกฤษ กลุ่มภาษา Celtic เดิมของพวก Welsh และ Scots จึงเกิดผสมผสานกับกลุ่มภาษา Germanic ในยุคนี้เกิดเป็นภาษาอังกฤษในยุคแรก เรียกกันเป็นทางการว่า Old English (OE)

จวบจนกระทั่งยุค 400-800 AD. มีกลุ่ม Vikings อภยพเข้ามาอีก ซึ่งก็คือ Scandinavian นั่นเองแต่พวกนี้ใช้ชีวิตในเรือเดินท้องทะเลและไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง กลุ่มนี้นำภาษากลุ่ม Germanic เข้ามาที่เกาะอังกฤษมากขึ้นอีก หลักฐานสำคัญคือบทกวีชื่อ Beowulf ซึ่งเมื่อไม่นานนี้นำมาสร้างเป็นหนังเล่าเรื่องตำนานของ Scandinavian hero ชื่อ Beowulf ปราบอสุรกาย Grendel, แม่ของ Grendel, และมังกรยักษ์ ซึ่งถือว่าเป็นมหากาพย์ (epic) แรกที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอังกฤษในยุคนั้นก็ไม่ได้ใช้กันเป็นทางการ เพราะตอนนั้นเกาะอังกฤษก็อยู่ใต้อาณัติของจักรวรรดิ์ Roman ภาษาทางการที่ใช้จึงเป็น Latin

ต่อมาราว 1,200 AD. พวก Normans (ตอนเหนือของฝรั่งเศส หรือแคว้น Normandy ในฝรั่งเศสปัจจุบัน) นำทัพเข้ามายึดเกาะอังกฤษเป็นเมืองขึ้นจากจักรวรรดิ์โรมัน (Norman's Conquest) ภาษาทางการจึงยังคงเป็น Latin แต่พื้นเมืองเป็น OE ที่ผสมผสานกับ French ยุคแรก ภาษาอังกฤษตั้งแต่ช่วงประมาณ 400-1,200 นี้เองจึงเรียกกันเป็นทางการว่า Middle English (ME)

โดยสรุปภาษาอังกฤษจึงที่มาจากการผสมผสานกันของกลุ่มภาษา Celtic, Germanic, Latin, French ดังจะเห็นได้ว่ามีคำที่ยืมมาใช้จากภาษาเหล่านี้มากมายโดยเฉพาะ Latin ซึ่งมากที่สุด รองมาคือ Germanic และ French ภาษาอังกฤษหลัง Normans' Conquest เป็นต้นมาจนปัจจุบันเรียกกันว่าเป็น Modern English (ModE) หรือบางคนยังแบ่งอีกว่าหลัง 2,000 AD. เป็น Present-Day English (PDE).