Friday, January 27, 2012

วัฏจักรของ credit crunch

เริ่มต้นจากธนาคารปล่อยสินเชื่อโดยใช้หลักทรัพย์เป็นบ้านค้ำประกัน (collateral) กับผู้กู้รายย่อยที่เครดิตต่ำ หรือที่เรียกว่า subprime borrower ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้ธนาคารทุกเดือนตามที่ตกลง ต่อมาภายหลังผ่อนไปผ่อนมาผ่อนไม่หมดสักทีเพราะกลายเป็นผ่อนแต่ดอกเบี้ย ผ่อนต้นไม่ไหว ประกอบกับโครงการบ้านจัดสรรก็เกิดขึ้นผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด เกิดภาวะเงินเฟ้อในตลาดอสังหา ทำให้ราคาบ้านที่ธนาคารถือครองไว้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเกิดราคาตกต่ำ ผู้กู้พิจารณาแล้วว่าจ่ายดอกอย่างเดียวแบบนี้เห็นจะไม่ไหว เก็บเงินผ่อนดอกไปดาวน์บ้านหลังใหม่ดีกว่า เลยปล่อยให้บ้านหลุดไปเป็นของธนาคาร

ธนาคารเองเดิมไม่ได้คิดจะเอาบ้านไปขาย แต่คิดกินยาวจากดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะคาดว่าจะได้รับจากผู้กู้ จึงได้ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปที่เรียกว่า mortgage-backed securities (MBS) หรือ collateralized debt obligations (CDO) โดยที่ผู้ซื้อจะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารซึ่งธนาคารก็รับมาจากผู้กู้บ้านอีกต่อหนึ่ง เรียกว่าธนาคารกินหัวคิว แต่เมื่อผู้กู้ไม่จ่ายดอกเสียแล้ว ดอกเบี้ยที่จะให้กับลูกค้าที่ซื้อ MBS/CDO ของธนาคารก็ชะงักลง แต่ธนาคารยังมีบ้านของผู้กู้ที่จะขายทอดตลาดอีก แต่เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อกับตลาดอสังหา ทำให้ราคาบ้านที่ธนาคารขายได้จริงลดลงครึ่งหนึ่งของราคาที่ธนาคารประเมิน งานนี้ธนาคารจึงขาดทุนเพราะมูลทรัพย์สินของธนาคารลดลงฮวบ และยังต้องจ่ายเงินเจ้าหนี้ซึ่งก็คือลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารไปอีก

เมื่อธนาคารประสบปัญหาก็ปล่อยกู้ได้น้อยลง ทำให้ธุรกิจต่างๆขายสภาพคล่องกันไปตามๆกัน เพราะขาดแหล่งเงินกู้ เช่นธุรกิจที่มียอดขายเติบโตเร็วเกินไป คือรับคำสั่งขายปัจจุบันได้มากจนต้องขยายทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิต แต่รายได้จากลูกค้าปัจจุบันนำมาสมทบกับอัตราการขยายฐานการผลิตไม่ทัน โดยเฉพาะธุรกิจที่เปิดสินเชื่อให้ลูกค้า ประเภทส่งของไปแล้วแต่ต้องรอ 60-90 วันกว่าจะได้เงิน แล้วจะเอาเงินที่ใหนมาขยายฐานการผลิต หรือถ้าเป็นธุรกิจประเภท trading ยิ่งเห็นชัด เพราะต้องสั่งสินค้าเข้าสต็อกทันที ทั้งๆที่รายได้จากการขายยังไม่ได้รับเพราะเปิดเครดิตให้ลูกค้า 30-90 วัน

ธุรกิจใหญ่น้อยเหล่านี้ต้องมีธนาคารเป็นเพื่อนยามยาก เพื่อหมุนเงินในจังหวะที่เติบโต ยิ่งอัตราการเติบโตเร็วเท่าใด ก็ยิ่งต้องพึ่งเงินกู้ยืมจากธนาคารมากเท่านั้น เมื่อธนาคารลดเงินกู้ก็ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ประสบปัญหา หรือถึงขั้นรุนแรงต้องปิดตัวลง ปัญหาการว่างงานก็จะเกิดขึ้นเป็นปลายเหตุ เพราะเหตุนี้ดรรชรีการว่างงานจึงใช้เป็นเรื่องชี้วัดสถานภาพทางเศรษกิจของประเทศได้นั่นเอง เมื่อคนว่างงานมากขึ้น ปัญหาสังคมก็ตามมา

การที่ธนาคารปล่อยกู้น้อยลงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษกิจหรือ credit crunch สังเตว่าธนาคารเดี๋ยวนี้เวลาจะปล่อยกู้จะประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ต่ำมากๆ เพราะเผื่อไว้เมื่อยามตลาดสังหาราคาตกเพราะเงินเฟ้นในตลาด และ subprime borrowers เบี้ยวหนี้ ธนาคารจะได้ไม่เดือนร้อนเกินไป ที่ดิน 12 ล้าน ธนาคารประเมินราคาที่ปล่อยกู้แค่ 3 ล้าน เป็นอย่างนี้จริงๆ นี้เพราะธนาคารคิดไปเลยว่าคนที่เอาที่ดินมาค้ำไม่มีปัญญามาไถ่คือได้ตามราคาตลาด ก็น่าจะจริง เพราะถ้าขายตามราคาประเมินคงขายไปแล้ว จะมาวางไว้ธนาคารทำไม

Saturday, January 07, 2012

คำอวยพรปีใหม่ 2555 จากในหลวง

ถึงจะมองไม่เห็นฝั่ง
เราก็ต้องพยายามว่าย
อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร

โภคะทั้งหลาย
มิได้สำเร็จ
ด้วยเพียงคิดเท่านั้น

ขอจงมีความสุขความเจริญ 2555
Happy New Year 2012