Friday, June 26, 2009

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ: ใครได้ใครเสีย

ข้อดีคือมหวิทยาลัยมีอิสระในเชิงนโยบายและการบริหารมากขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาในเชิงวิชาการได้ดีขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันระหว่างองค์กรทั้งภายในและภายนอก แต่การแข่งขันนั้นในเวลาเดียวกันก็ยังให้เกิดผลในเชิงธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังสังเกตได้จากการเปิดหลักสูตรมากขั้นเพื่อการอยู่รอดและการแข่งเพราะได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐน้อยลง ปริมาณผู้เรียนต่อหลักสูตรจึงจำเป็นต้องมากขึ้นและนี่อาจกระทบต่อคุณภาพการสอน ตัวอย่างเช่นอาจารย์ผู้สอนต้องตรวจงานนักศึกษาเพิ่มขึ้น อีกทั้งประเด็นต่างๆที่จะตามมา เช่นการวัดผลการศึกษา ฯลฯ อาจารย์ถูกล่อลองด้วยรายได้นอกระบบ (จากการสอนในหลักสูตรพิเศษต่างๆ) จนกลายเป็นกรรมกรในอุตสาหกรรมการศึกษา แทนที่จะเป็นนักวิจัยและค้นคว้าหาองก์ความรู้ให้สังคม

ในแง่มุมของนักศึกษา จะต้องจ่ายค่าหน่วยกิตเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าเงินเดือนให้กับบุคคลากรของสถาบันซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐน้อยลง ประเด็นนี้อยู่ที่ว่ามหาวิทยาลัยจะเพิ่มค่าหน่วยกิตไม่ให้มากกว่าเดิมจนเกินไปได้อย่างไร ถ้าเพิ่มนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ถ้าเพิ่มมากก็จะเป็นปัญหากับนักศึกษาที่ต้องพึ่งกองทุนการศึกษาของรัฐอีก ดังนั้นก็เท่ากับว่าแทนที่รัฐจะลดต้นทุนการสนับสนุนภาคการศึกษา แต่กลับต้องมาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักศึกษาอีก (เท่ากับลดต้นทุนของรัฐจริง แต่ก็ต้องไปจ่ายเพิ่มเป็นเงินกู้ผลตอนแทนต่ำอีก) เพื่อไม่ให้ค่าหน่วยกิตเพิ่มมากจนเกินไปหลังมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มหาวิทยาลัยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับนักศึกษาเพิ่มด้วยเหตุผลแห่ง economy of scale ตามหลักเศรษศาสตร์ ดูผิวเผินเหมือนว่ามหาวิทยาลัยและผู้เรียนได้ประโยชน์ คือมหาวิทยาลัยมีรายได้มากขึ้น ผู้เรียนก็เรียนจบง่ายขึ้น แต่จริงๆในระยะยาวจะเป็นการลดมาตราฐานการศึกษาของสถาบัน ลดมาตราฐานการสอนของอาจารย์ และลดคุณภาพของบัณฑิต เพราะแน่นอนว่าปริมาณนักศึกษาจะมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่คุณภาพต่ำเพราะมหาวิทยาลัยเอาแต่รับเพิ่มๆ เปิดหลักสูตรเพิ่ม อาจารย์เอาแต่สอนภาคพิเศษ ภาคค่ำ บาปตกที่นักศึกษาที่ทุกวันนี้บ่นแต่เรื่องค่าหน่วยกิต ซึ่งจริงๆเป็นเพียงปัญหาแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น

Thursday, June 25, 2009

Emeritus Professor Bob Fagan's (Human Geography) 'criteria for assessing Ph.D. dissertation':

1. Distinct contribution to knowledge
2. Evidence of originality (new facts/theories)
3. Satisfactory literary presentation (lack of ambiguity)
4. Potentiality for getting published (partly or all)

Friday, June 19, 2009

World's most livable cities

Three Australian cities hit the Economist's list of the world's top-ten most livable cities.

1 Vancouver 98.0
2
Vienna 97.9
3 Melbourne 97.5
4
Toronto 97.2
5 Perth 96.6
5
Calgary 96.6
7
Helsinki 96.2
8 Sydney 96.1
8
Geneva 96.1
8
Zurich 96.1

(http://www.wikipedia.com/)
Buddhism

Buddhism is broadly recognized as being composed of two major branches: Theravada, which has a widespread following in Southeast Asia, and Mahayana (including Zen, Shingon and Tebetan Buddhism), found throughout throughout East Asia (www.wikipedia.com).

In Thailand, Theravada is sub-divided into Thammayut and Mahanikaai. Recently another variety seems to have emerged out of the two, the so-called 'Thammakaai', which seems to me like a blend or hybrid between the former two, at least as its name suggests (Thamma- + -kaai).

Friday, June 12, 2009

“หนาวจัง... คิดถึงพี่ไก่จังเลย”

สายมาแล้ว อาจารย์ต๋อมยังนั่งทำงานอยู่ที่ห้องทำงานของคณะเพื่อรอพี่ไก่ สามีที่เป็นอาจารย์ต่างคณะมารับเหมือนเช่นทุกวัน วันนี้พี่ไก่มาสายหน่อยเพราะติดงานเลี้ยงต้อนรับอาจารย์ใหม่ที่เพิ่งเรียนจบจากนอก อาจารย์ต๋อมเลยต้องกินข้าวห่ออยู่ลำพังในห้องทำงานจนเย็นค่ำ เมื่อได้ยินว่ามีอาจารย์จบจากนอกมาใหม่ก็ทำให้นึกถึงสมัยที่แกยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่อังกฤษ กว่าจะเรียนจบมาได้ก็แทบแย่ ยิ่งในสมัยนั้นแล้วชีวิตนักศึกษาในต่างประเทศจะเปรียบแล้วก็เหมือนอยู่ในคุกดีๆนี่เอง อาหารการกินก็ไม่ถูกปาก อากาศก็หนาวเหน็บ ยิ่งวันไหนหิมะตกแล้วก็จะเงียบเหงาเอามากๆเพราะผู้คนจะไม่ออกมาเดินข้างนอก แม้จะมีอิสรภาพ แต่เหมือนถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนแห่งความคิดถึงคนที่รัก ที่กว่าจะเจอกันได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบแล้วเท่านั้น จะพูดคุยกันทางโทรศัพท์ก็ได้ไม่นานนักเพราะค่าโทรก็แพงเหลือเกิน จะเขียนจดหมายถึงกันก็ต้องใช้เวลาลาเป็นอาทิตย์กว่าจะถึง ไม่ได้พูดคุยกันได้รวดเร็วทันใจผ่านอินเตอร์เน็ตเหมือนอย่างสมัยนี้

เวลาที่ว้าเหว่ที่สุดสำหรับอาจารย์ต๋อมในสมัยนั้น คงเป็นเวลาเย็นที่ต้องเดินตากลมหนาวกลับบ้านยามค่ำมืดเพียงลำพัง เมื่อถึงบ้านแกก็จะหุงหาอาหารกินอยู่คนเดียว ทานข้าวสวยร้อนๆ กับไข่เจียว และแกงอ่อมอิสานของโปรดแกมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ อาบน้ำและกราบพระก่อนเข้านอน โดยแกจะขดตัวอยู่ใต้ผ้าห่มทับซ้อนกันสามผืนจนหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย ทุกวันแกจะคิดถึงพี่ไก่และลูกชายสามขวบที่เมืองไทยจนจับใจ และเฝ้าคิดถึงวันที่แกจะเรียนจบและได้กลับเมืองไทยไปหาลูกและสามีเสียที มีเพียงความหวังแค่นี้แหละที่ทำให้แกมีกำลังใจเรียนหนังสือได้วันหนึ่งวันหนึ่ง เพื่อรอให้ถึงวันนั้น ยิ่งแกคิดถึงลูกและสามีเท่าไหร่ แกก็ยิ่งมุมานะเรียนมากเท่านั้น ที่แกทำได้และมักจะทำเป็นอยู่ประจำก็คือบ่นพ้อกับหม้อหุงข้าวใบน้อยตรานกยูงที่คุณแม่แกซื้อให้เป็นของฝากติดมือมาจากเมืองไทยเท่านั้นแหละ

“เจ้าหม้อหุงข้าวน้อยเอ๋ย... ขอบใจนะแกที่ที่หุงข้าวให้กินทุกวัน จะมีแกก็นี่แหละนะ...เป็นเพื่อนยามยาก... เมื่อไหร่จะเรียนจบสักทีนะ จะได้หิ้วแกกลับเมืองไทยเสียที”

วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งไว้เพียงร่องรอยแห่งอดีตให้หวนคิดถึง ความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้จบเพื่อจะได้กลับเมืองไทย ทุกอารมณ์และความรู้สึกนั้น มีเพียงหม้อหุงข้าวใบน้อยที่เข้าใจแกในเวลานั้น มันก็เหมือนกันการที่นักโทษเฝ้ารอวันปล่อยตัว ต่างกันแค่พันธนาการที่ใช้ไม่ได้เป็นโซ่ตรวน แต่งเป็นความรักและความคิดถึงคนที่รักที่ไม่อาจพบหน้าได้เท่านั้น

เผลอแพลบเดียว ยี่สิบปีผ่านไป แต่ความรู้สึกนั้นย้อนกลับมาอีกครั้งในเวลานี้ เวลาที่เธอรอคอยสามีเพียงเพื่อจะได้กลับด้วยกัน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น แต่ความรู้สึกที่รู้ว่ากำลังจะได้เจอคนรักนั้น บางทีก็เป็นความสุขได้มากกว่าการได้เจอจริงๆเสียอีก เพราะยามที่รอคอยการพบเจอนั้นเปี่ยมไปด้วยความหวังอันปิติ แต่เมื่อได้เจอแล้วต่างหากที่บางทีก็กลับเป็นกังวลถึงการพลัดพรากอีกครั้งในอนาคต ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่

...

“โทษทีนะต๋อม... ให้รอนานเลย พี่ให้ต๋อมไปกินด้วยกัน ต๋อมก็ไม่ไปนี่ เอ้านี้... เจ้าสายัญเด็กทุนลูกศิษย์พี่ที่เรียนจบมาน่ะ มันอุตส่าห์หิ้วหม้อหุงข้าวกลับมาจากอังกฤษ บอกให้พี่เอาไปให้นิสิต มันว่าหม้อใบนี้ช่วยคนเรียนจบมาหลายรุ่นแล้ว มันได้มาจากรุ่นพี่ แล้วรุ่นพี่ก็ได้ต่อมาจากรุ่นก่อนๆที่เรียนจบไปอีกที ใครจะอยากได้เล่าต๋อม เนี้ยะดูสิ เก่าซะขนาดนี้ ไม่รู้ใช้กันมากี่ปีแล้วยังอุตส่าห์หอบกลับมาอีก”

อาจารย์ต๋อมเงยหน้าขึ้นช้าๆ เบึ่งตาโตมองจ้องหม้อข้าวในมืออาจารย์ไก่อยู่สักครู่

“พี่...ขอต๋อมมองใกล้ๆซิ”

“อ้าวต๋อมสนใจหรอก... เอาไปเลย... พี่ให้ เก่าขนาดนี้ใครจะอยากได้”

อาจารย์ไก่ว่าพร้อมกับยกเอาหม้อหุงข้าวใบนั้นวางไว้บนโต๊ะทำงานของอาจารย์ต๋อม ที่ตอนนี้ยิ่งจ้องมองพิจารณามากยิ่งกว่าเก่า แกค่อยๆเปิดลิ้นชักหยิบแว่นสายตายาวขึ้นใส่เหมือนพยายามจะอ่านข้อความในสลากที่แปะอยู่ด้านข้างให้ชัด บนหม้อหุงข้าวที่มีสัญลักษณ์ตรานกยูงใบนั้น มีข้อความที่เขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำเป็นภาษาไทยตัวเล็กๆ ซึ่งถ้าไม่สังเกตให้ดีก็จะมองไม่เห็น แม้ข้อความนั้นจะเรืองลางเต็มที แต่ก็ยังพออ่านได้ว่า

“หนาวจัง... คิดถึงพี่ไก่จังเลย”

...

“มันจะงมงายอะไรขนาดนั้น... ฟังเจ้าสายัญมันพูด... อาถรรพ์จริงๆนะอาจารย์ เจ้าของเก่ารักมาก ถ้าลองได้เอาหม้อใบนี้ไปใช้หุงข้าวกินทุกวันแล้ว ที่ว่าเรียนอ่อนยังไง เป็นต้องเรียนจบทุกราย”

...

“ต๋อมทำไมเงียบไปล่ะ... เออ... แต่พี่ว่าสงสัยหม้อใบนี้มันอาจจะศักดิ์สิทธิ์อย่างเขาว่าจริงๆก็ได้นะ... ก็อย่างไอ้สายัญนี่สิ พี่สอนมันมากับมือ เห็นมันไม่เอาถ่านอย่างงี้นะ มันยังจบเอกกับเขาได้นะเนี่ย... มันว่าที่มันจบมาได้ก็เพราะหม้อใบนี้แหละ... พี่ว่า... สงสัยหม้อหุงข้าวมันอยากกลับเมืองไทยมากกว่าว่ะต๋อม... ฮะ ฮะ”