Monday, September 27, 2010

Growth forecast raised to 7.5%

The Finance Ministry's Fiscal Policy Office has raised its economic growth projection for this year to 7.5 % from 5.5 %. The FPO said the inflation rate in June stood at 3.4 %. The value of Thai baht was expected to be about 30 bt per USD by the end of this year. ... The gross domestic product for next year should expand 4-5 % while the inflation rate should rise 3.5 %. The policy interest rate would likely increase to 2 % by year's end and 3 % in 2011.

Bangkok Post 27/09/2010 at 05:00 PM http://www.bangkokpost.com/business/economics/198446/growth

Monday, September 13, 2010

ภาษีทรัพทย์สิน ที่กำลังจะนำมาใช้ในอนาคต ช่วยลดความทับซ้อนของภาษีโรงเรือนและภาษีรายได้ได้อย่างไร

ได้เพราะภาษีทรัพย์สินเก็บตามขนาดที่ดิน ไม่ได้เก็บจากรายได้จากการดำเนินกิจการที่อยู่บนที่ดิน ปัจจุบันการเก็บซ้ำซ้อนเพราะนอกจากเจ้าของอาพาร์ตเม้นต์เสียภาษีรายได้ให้กับกรมสรรพากรแล้ว ทำไมยังต้องคิดคำนวณเก็บภาษีโรงเรือนให้กับเทศบาลโดยดูที่รายได้อีก ถ้าจะเก็บไม่มีปัญหาแต่ไปเก็บในเรื่องขนาดที่ดิน หรืออะไรที่ไม่เกี่ยวกับรายได้ของผู้ประกอบการ เนื่องจากรายได้ของผู้ประกอบการถูกหักภาษีให้กรมสรรพากรไปแล้ว อย่างนี้จึงเรียกว่าซ้ำซ้อน

ภาษีใหม่ถ้าเกิดขึ้นได้จริงจะไม่ซ้ำซ้อน เพราะจะเรียกเก็บเป็นสัดส่วนตามขนาดที่ดิน ไม่ใช่ผลประกอบการซึ่งสรรพากรเรียกเก็บไปแล้ว เพราะเนื้อหาสาระเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินในปริมาณมากๆ แล้วก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร แต่กฏหมายนี้ถ้าจะผ่านยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ การเมืองก็มีผล ต้องดูต่อไป

Friday, September 10, 2010

ภาษีต่างๆ: สรุปความเข้าใจ หลักการและเหตุผล

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่ดินและอาคารปลูกสร้างซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำไปหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ต้องเสียภาษีโรงเรือนให้เขตหรือเทศบาลในท้องที่ อัตราภาษีคิด 12.5% ของฐานภาษีหรือค่ารายปีของทรัพย์สินซึ่งหมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ

ภาษีเงินได้
ส่งให้ส่วนกลางคือหลวงหรือกรมสรรพากร ที่พบบ่อยๆคือ

(1) ภาษีเงินได้แบบ ภงด 91 สำหรับคนที่มีรายได้จากเงินเดือนประจำ ไม่มีรายรับจากทางอื่น อัตรา 10% จากรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น เงินเดือน 22,500*12 = 270,000 หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว (40%แต่ไม่เกิน 60,000) และหักลดหย่อนส่วนตัว 30,000 + ประกันสังคม 9,000 = รายได้สุทธิ 171,000 รัฐกำหนดว่า 100,000 แรกได้รับการยกเว้น และเก็บ 10% ของรายได้ส่วนที่เหลือคือ 71,000 เพราะฉะนั้นภาษีที่ต้องจ่ายจริงคือ 7,100 บาท (ทั้งนี้ยังไม่ได้คำนวณลดหย่อนประกันชีวิต ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนบุตร) แต่ถ้าในใบสลิปเงินเดือนแต่ละเดือนระบุไว้แล้วว่าที่ทำงานเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ก็ต้องมาคำนวณว่าที่เก็บไปแล้วทั้งปีมากหรือน้อยกว่า 7,100 บาท และจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือเรียกเงินคืนตอนสิ้นปีภาษี

(2) ภงด 90 สำหรับคนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนประจำ เช่นค่าล่วงเวลา รายได้จากค่าเช่า เจ้าของอาพาร์ตเม้นท์ ค่าลดหย่อนของภาษีประเภทนี้เช่น ผู้ประกอบการมีอายุมากกว่า 65 ปีได้ลดหย่อน 100,000 บาทจากฐานภาษีเป็นต้น ส่วนรายรับที่เหลือจากค่าลดหย่อนค่อยนำไปคิดอัตราภาษี ยื่นปีละสองครั้ง คือก่อนกันยายน และก่อนกุมภาพันธ์ ที่กรมสรรพากร โดยส่งแบบฟอร์มทางไปรษณีย์ หรือทำออนไลน์ก็ได้

ภาษีป้าย
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ยกเว้นที่ปรากฏในตัวอาคารไม่เก็บ จ่ายที่สำนักงานเขตหรือเทศบาล ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 sq.cm ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 sq.cm และ ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด หรือไม่ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 sq.cm แต่เมื่อคำนวณแล้วมีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

ภาษีบำรุงท้องที่
ยื่นก่อนเมษายนของทุกปี เรียกเก็บโดยสำนักงานที่ดินเขตหรือเทศบาลกับที่ดินที่ไม่ได้เสียภาษีโรงเรือนหรือที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัย

ภาษีรถยนต์
การใช้รถยนต์ก็ถือเป็นต้นทุนของสาธารณะ อย่างน้อยก็ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงและอากาศ ทุกปี รถใหม่เสียแพง รถนำเข้าต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วยดังกล่าวแล้ว รถยิ่งเก่ายิ่งเสียน้อยลงเป็นสัดส่วน แต่รถเก่าที่เก่าเกินไป จริงๆควรเสียมากเพราะสร้างมลพิษจากท่อไอเสีย และก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเวลารถเสียบ่อยๆ และยังเพราะวิ่งช้าในทางที่ควรวิ่งเร็ว

ภาษีสรรพสามิต
เก็บโดยกรมสรรพสามิต ไม่ใช่กรมสรรพากร แม้ทั้งคู่สังกัดกระทรวงการคลังเหมือนกัน โดยเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น บุหรี่ สุรา น้ำมัน รถยนต์ น้ำหอม สินค้าแฟชั่นนำเข้าราคาแพง เป็นต้น ที่ต้องเรียกเก็บเพราะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีความจำเป็น หนำซ้ำ ก็จะทำให้ประเทศขาดดุลการค้ากับประเทศที่นำเข้าสินค้านั้น รัฐจึงจำเป็นต้องเก็บภาษีตัวนี้เพื่อจะเป็นรายได้ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเป็นค่าปรับ แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าซื้อติดมือมาเล็กน้อยไม่ได้นำมาจำหน่ายต่อ หรือสินค้าบางชนิดเช่นหนังสือแบบเรียน ก็ไม่เป็นไร (อยู่ในดุลพินิจของศุลกากร ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจผิดผู้บริโภคก็สามารถฟ้องร้องได้เช่นกัน) สินค้าปลอดภาษีที่ขายที่สนามบินคือปลอดภาษีตัวนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ขายสินค้า บริการ และนำเข้า (ยกเว้นสินค้านำเข้าบางประเภทได้รับการยกเว้นตามกฏหมายศุลกากร เช่นหนังสือแบบเรียน) โดยผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสียก่อน จากนั้นจึงสามารถบวกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7 % ของราคาสินค้าและบริการของตน เพื่อนำเงินส่วนนี้ให้รัฐ ดังนั้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่เป็นภาระของผู้บริโภคโดยตรง กินมาใช้มาก ก็จ่ายมากเพราะการกินใช้เป็นต้นทุนสาธารณะ กินใช้มากก็เป็นภาระให้สังคมมากนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม http://rbu.rbru.ac.th/~changnoi/p3/p3.3.pdf

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีทรัพย์สิน)
กำลังจะเป็นภาษีที่เข้ามาแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อกำจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีทั้งสองประเภท เสียตามมูลค่าทรัพย์สินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ใครมีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมากเสียมาก...ใครมีน้อยเสียน้อย มีผลกระทบทันทีกับผู้ที่คิดจะซื้อบ้าน คอนโด เพราะกฏหมายระบุว่าโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างต้องเสียภาษีประเภทนี้ด้วย มีเพดานไม่เกิน 0.5% ของมูลค่าทรัพย์สิน ทำให้ผู้ประกอบการต้องบวกราคาบ้านเพิ่ม นอกจากนี้โครงการที่รัฐเป็นผู้หาประโยชน์เช่น สัมปะทานทางด่วน รถไฟฟ้า สนามบิน ซึ่งไม่ได้เปิดบริการฟรีหรือดำเนินการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐก็ต้องเสียภาษีประเภทนี้ด้วย ดังนั้นภาระจึงตกมาถึงประชาชนซึ่งใช้บริการเหล่านั้น