Monday, March 24, 2008

ข้อคิดในการตั้ง slogan ภาษาอังกฤษ

ความน่าประทับใจของ Slogan ภาษาอังกฤษอยู่ที่ความเข้าใจความหมายของมัน ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายฟังแล้วรู่้สึกว่า 'ใช่เลย' หรือสื่อความหมายได้ 'โดนใจ' บางทีก็ซ่อนความหมายที่ต้องคิดลึกๆ ถึงจะ 'get' แต่ด้วยข้อจำกัดของคนไทย จึงต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย จะเอาเท่ห์เหมือนสินค้าแฟชั่นคงไม่ได้ เพราะสินค้าพวกนั้นเน้น image อย่างเดียว บางทีฟังก็ไม่เข้าใจ แต่เท่ห์ก็พอแล้ว เช่น Turn it on ของ PUMA ที่เราฟังแล้วรู้สึกว่า Slogan เหล่านั้นเพราะ เข้าหู และลงตัวดี ก็เพราะมันฟังกันจนคุ้นหูแล้ว เรียกว่าไม่จำเป็นต้องเพราะ แต่ฟังกันจนเพราะไปเอง เรื่องความเพราะนี่ ก็ต้องเข้าใจว่าจะเอาให้คนไทยฟังเพราะ หรือฝรั่งฟังเพราะ เพราะอาจเข้าใจข้อความต่างกัน ผมว่าข้อความที่ฟังดูเพราะน่าจะเป็นข้อความเรียบง่าย แต่่จริงใจและกินใจ มากกว่าเสียงสัมผัสของคำในเชิงสำนวนภาษา

สินค้าบางประเภทบางทีก็เลี่ยงที่จะสื่อให้ตรง เพรานอกจากจะฟังดูเชย บางทียังดูแคลนภูมิปัญญาของผู้บริโภคอีก เช่น JUST DO IT ของ NIKE สื่อความหมายไม่ตรงเลยสักนิด แต่กลับติดตลาดผู้บริิโภค เพราะได้แนวคิดและวัฒนธรรมแบบตะวันตก โดยเฉพาะความเท่ห์แบบวัยรุ่นมะกัน ที่ไม่ต้องคิดเยอะ อยากทำอะไรทำเลย ทำแล้วค่อยคำนึงถึงผลของการกระทำทีหลัง ซึ่งเป็นลักษณะของวัยรุ่นโดยแท้ (แล้วค่อยให้ผู้ใหญ่ตามแก้ปัญหาทีหลัง) ทำให้โดนกลุ่มเป้าหมายสุดๆ ทั้งในเชิงกายภาพและวัฒนธรรมเมืองนอก โดยส่วนตัวไม่ชอบ slogan นี้ และไม่เห็นว่าจะเข้าท่าตรงใหน ขัดกับสังคมไทยด้วยซ้ำ ที่สอนให้คิดให้รอบคอบ เกรงใจ (คำนี้แปลกนะ ภาษาอังกฤษมีคำว่า considerate แต่ความหายต่างกัน) และเห็นอกเห็นใจความรู้สึกของผู้อื่น ก่อนการกระทำเสมอ

สินค้าของ a เป็นสินค้าที่ ไม่ได้ขายมวลชน จะสื่อความหมายที่เป็น abstract มากๆอย่างที่ a ว่า "รักคุณเท่าฟ้า" ซึ่งนอกจากจะฟังดูเชยสนิท สื่อไม่ตรงความหมายแล้ว ยังฟังดูเสแสร้งไม่จริงใจ อย่างน้อยก็ในความรู้สึกผมที่ใช้บริการการบินไทยมาโดยตลอด สินค้า a เป็นสินค้าที่เป็นตลาดเล็กๆ และเฉพาะกลุ่มจริงๆ กลุ่มที่มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ มีความละเอียดอ่อน และมีความคิดวิเคราะห์ ต้องระวังในเรื่องการใช้คำให้มาก ไม่ให้เท่ห์จนเกินไป หรือดีจน 'over' เพราะมันจะ meaningless! หรือไร้สาระ แทนที่จะเป็น image ในทางบวก อาจได้รับผลในทางกลับกัน เพราะคน 'หมั่นใส้' (คำนี้แปลกนะ a ภาษาอังกฤษไม่มีคำเทียบเคียงได้เหมือนเลย!)

สรุป slogan ของ a ผมแนะนำว่าน่าจะมีลักษณะดังนี้
- อ่อนน้อม ถ่อมตน
- เข้าใจง่าย แต่เชย ดีกว่า ฟังเทห์ แต่ลูกค้าไม่เข้าใจ
- สั้น จำง่าย ซึ่งเป็นลักษณะ slogan ทั่วไปอยู่แล้ว
- คนไทยอ่านออกเสียงได้ รวมถึงเจ้าของสินค้าเองด้วย
- ตรงไปตรงมา ไม่เจ้าเล่ห์ โปรยเสน่ห์ด้วยถ้อยคำหวานจ๋อย (ha ha...)

ผมแต่งเพิ่มให้อีก 2 ดังนี้ครับ

At Prelude Music...
...'We don't sell, we serve!'

อันนี้สื่อจุดขายของ a ที่ไม่เหมือนชาวบ้าน รับรองได้ใจลูกค้าแน่ เพราะ a ทำตลาดเชิงรุกอยู่แล้ว เน้นบริการ ไม่ได้ขายอย่างเดียว แล้วยังฟังดูเป็นผู้รับใช้ที่ดีอีก เหมาะกับงานบริการ

Prelude Music...
... Simply the music books!

อันนี้สื่อตรงๆ ง่ายๆ ว่า ขายหนังสือเพลงอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ขาย ฟังดู จริงจัง และจริงใจ ไม่โกหก

ถ้ายังไม่ชอบใจก็เก็บไว้ก่อนนะครับ ไม่ต้องใช้ คิดอะไรออกอีก จะบอกอีกทีครับ
Fine-tuning discourse in Thai EFL academic and electronic bulleting board writing
Montri Tangpijaikul
Linguistics, Macquarie University
Full text: Not available
Last modified: August 30, 2007

Abstract

A basic repertoire of modality and intensity in English is important in helping learners fine-tune their meaning appropriately, but these linguistics features are generally underused by EFL learners. This study hypothesizes that Thai learners tend to use modals and intensifiers more in the online bulletin board than in student academic essays. Two parallel learners’ corpora, a total of 115,980 words, are used to compare between their writing outputs in the electronic bulletin board and student essays. A framework has been developed based on the existing concepts of modality and degree of intensity. It attempts to capture the four semantic areas including hedging, boosting, committal, and inclination. The analysis includes modal auxiliaries (e.g. will, may), epistemic stance adverbs (e.g. maybe, probably), adjectives (e.g. certain, possible), copular verbs other than ‘be’ (e.g. tend, seem), and intensifiers (e.g. rather, somewhat, totally). The findings show that Thai EFL learners are able to fine-tune their expression with subtlety using these lexical and grammatical devices more in the online than the offline writing.