Tuesday, April 16, 2013

พลังของการออม vs นโยบายขาดดุลงบประมาณ

ระดับจุลภาค
บริษัทที่มีเงินออมหรือทุนสำรองสูงสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ถือหุ้นได้โดยแปลงจากกำไรสะสมเป็นมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นหรือแบ่งออกเป็นปันผลประจำปีให้ผู้ถือหุ้น พนักงานของบริษัทเอง กรรมการบริหาร หรือผู้ถือหุ้นเอง หากมีเงินออมก็สามารถสร้างรายได้จากการปล่อยกู้ภายในองค์กรได้ในยามที่บริษัทต้องการขยายกำลังผลิต ทำให้เติบโตไปพร้อมๆกับความก้าวหน้าขององค์กร เกิดความรักในองค์กร และยังเป็นการลดภาระหนี้จากภายนอกองค์กรให้กับบริษัทซึ่งอาจมีภาระดอกเบี้ยสูงกว่าหนี้ในองค์กร

ระดับมหภาค
ประเทศที่มีเงินออมภาคประชาชนสูงประชาชนสามารถสร้างรายได้จากการปล่อยกู้ภายในประเทศในยามที่ประเทศกำลังขยายตังทางเศรษฐกิจ ผ่านการซื้อพันธบัตรของรัฐ ทำให้เติบโตไปกับความก้าวหน้าของประเทศ ทำให้รักประเทศ และยังเป็นการช่วยลดภาระหนี้สินและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายกับต่างประเทศอีกด้วย เช่นกรณีญี่ปุ่นหลังสงครามเป็นต้น

งบประมาณขาดดุลมีผลอย่างไร
การตั้งงบประมาณขาดดุลก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของรัฐ และการลดภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย แต่นั้นหมายความถึงเงินออมภาคประชาชนจะลดน้อยลงด้วย เมื่อภาคประชาชนมีการออมน้อยลงในขณะที่รัฐและเอกชนต้องการเงินลงทุนมากขึ้น ธนาคารจึงถูกบีบให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงแต่ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ เป็นผลให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามากขึ้น เมื่อเงินต่างประเทศไหลมากขึ้นความต้องการเงินบาทสูงขึ้นค่าเงินบาทก็แข็งขึ้น เป็นผลต่อภาคส่งออกที่หดตัวหรือนำไปสู่การขาดดุลการค้าในที่สุด



No comments: