Friday, September 09, 2011

Reverse engineering
คือการถอดประกอบเพื่อศีกษาโครงสร้างภายใน วิธีการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นๆ พูดง่ายๆสมมุติว่าเราซื้อหุ่นยนต์มาหนึ่งตัว แล้วเอามาถอดประกอบเพื่อดูว่าหุ่นตัวนี้ผลิตอย่างไร เสร็จแล้วนำความรู้ที่ได้ไปผลิตตัวใหม่ซึ่งเป็นของเราเอง เรียกได้ว่าเรากำลัง reverse engineer หุ่นยนต์ตัวนั้นอยู่

อย่างนี้ถึอเป็นการละเมิดสิทธิบัตร (patent) อย่างหนึ่งเพราะไปล้วงเอา know-how ของเขามา ดังนั้นเวลาผู้ส่งออกสินค้าที่มี patent มายังประเทศไทย จึงบังคับให้ Sales agent หรือ distributor ในเมืองไทยเซ็นเอกสารที่บังคับว่าจะไม่ทำ reverse engineering และเปิดเผย know-how ของสินค้าของตน ในเอกสารเรียกว่า Confidentiality and Non-disclosure Agreements เอกสารตัวนี้ยังใช้บังคับให้ร้านค้าขายคอมพิเตอร์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของต่างประเทศ ไม่มีสินธิลงโปรแกรมอื่นหรือโปรแกรมผีให้ลูกค้าได้

ปกติสินค้านั้นๆแม้จะมี patent ในประเทศผู้ผลิต แต่ส่งออกมายังประเทศไทยแล้ว ผู้ผลิตยังต้องตามมาจด patent ในประเทศไทยด้วย มิฉะนั้นแล้วจะไม่ถือเป็น legal owner ของสินค้านั้นในประเทศไทย ที่แย่กว่านั้นคือถ้าบริษัทผู้ส่งออกจากต่างประเทศ ไม่ได้ให้ Distributor ในประเทศไทย เซ็นสัญญา Confidentiality and disclosure agreement และบริษัทเองก็ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยด้วยตัวเองหรือผ่าน Nominee ด้วยแล้ว ยิ่งแย่ใหญ่เพราะจะไม่มีสภาพเป็น legal owner ของสินค้านั้นๆในประเทศไทยเลย ตรงกันข้ามหากมี Sales agent หัวใสไปจดสิทธิบัตรของเทคโนโลยีการผลิตสินค้านั้นในประเทศไทยแล้ว (อาจศึกษาเองโดยวิธี Reverse engineering) เผลอๆ บริษัทผู้ผลิตเองจะต้องมาเจรจรต่อรองกับบริษัทที่จดทะเบียน patent ในประเทศไทยเพื่อขอซื้อสิทธิในการขายสินค้านั้นๆในประเทศไทย ทั้งๆตนเองเป็นเจ้าของ Know-how แต่เดิม

กรณีเช่นนี้ดูเหมือนว่าผู้ส่งออกจากต่างประเทศมายังไทยจะเสียเปรียบเรา และดูจะไม่เป็นธรรมกับเขาในการขายสินค้าที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา แต่ถ้ามาดูประเด็นอื่นแต่เป็นเรื่องคล้ายๆ กันแต่มองในมุมกลับกัน เช่น กรณีไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปสหรัฐอเมริกา และถูกนักวิจัยพันธุ์พืชชาวอเมริกัน นำไปถอดรหัสพันธุ์กรรมแปลงข้าวหอมมะลิเราเป็นสายพันธุ์ใหม่ใบสั้นเตี้ย และปลูกได้ดีที่สภาพอากาศอื่น อย่างนี้ก็น่าจะเป็น reverse engineering ได้

No comments: