'Paperless': จุดจบอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จริงหรือ
จะยังไม่เห็นชัดเจนในช่วง 10 ปีนี้ แต่จะค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานาน และที่สุดจะเป็น less-paper แบบที่เป็น paperless คือไม่มีกระดาษเลยคงยากเกินจินตนาการในศตวรรษนี้ ตัวแปรที่จะทำให้ใช้เวลานานกว่าจะเป็น less-paper:
1. ความติดยึดกับวัตถุคือกระดาษและหนังสือ เพราะเป็นของสะสม แม้จะมีคนใช้ Tablet มากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระดาษและหนังสือก็จะเป็นของสะสมและมีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น มากกว่าเพียงเนื้อความที่ใช้สื่อสาร
2. เทคโนโลยีปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่แก้ปัญหาเรื่องการอ่านจากหน้าจออิเล็กโทรนิค (1) ทำลายกล้ามเนื้อตา ม่านตา และจอประสาทตา ด้วยแสงสว่างจ้าที่พุ่งเข้าลูกตาโดยตรง ไม่เหมือนการอ่านจากกระดาษหรือหนังสือซึ่งเป็นแสงจากการตกกระทบ (2) สื่อสารด้วยภาษาเขียนแบบพิมพ์สัมผัสทำไม่ได้ เพราะผู้ใช้ tablet ใช้นิ้วจิ้มที่ีละตัวซึ่งไม่เร็วเท่าการพิมพ์สัมผัส ใครที่ใช้ระบบพิมพ์สัมผัสบนหน้าจอ ทั้งของ SAMSUNG และ IPAD ทราบดีว่าไม่ work ถ้าหันไปใช้การสื่อสารด้วยการคุย online เลยก็ไม่ตอบโจทย์เพราะการสื่อสารหลายอย่างสื่อด้วยภาษาเขียนดีที่สุด (3) ขนาดของคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ Tablet ปัจจุบันยังใหญ่โตมากทำให้ไม่คล่องตัว และเป็นภาระต้องแบกหามมากกว่าทำให้สบายตัว เทคโนโลยีที่ดีต้องพกพาได้ง่ายจนรู้สึกเหมือนไม่ได้พกพาเลย
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทุกวันนี้กำลังพัฒนาไปสู่โลกที่แทบไม่ต้องใช้กระดาษ แต่เป็น less-paper ไม่ใช่ paperless และสิ่งนี้ควรได้รับการส่งเสริมจากผู้บริโภคในสังคมที่พร้อมจะเป็นกลุ่มทดลองการพัฒนาสินค้าonline ต่างๆ ซึ่งกลุ่มทดลองนี้จำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าไม่มีผู้บริโภคสินค้ากลุ่มนี้ เทคโนโลยีจะไม่มีวันได้พัฒนาไปสู่สังคมที่เป็น less-paperless ได้
3. ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ผลิตสื่อ online ซึ่งละเมิดได้ง่ายกว่าหนังสือมากนัก และของลอกเลียนแบบดูไม่ต่างจากของจริงทำให้เกิดการทำลายระบบราคาสินค้าในตลาด ลดมูลค่าสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ
อุตสาหกรรมหนังสือและสิ่งพิมพ์ในอนาคตจะเป็นการขายระบบและลิขสิทธิ์มากกว่าการขายปลีกหนังสือเป็นเล่มๆ หรืออาจเป็นการขายสิทธิ์การอ่านหนังสือ online แต่กว่าจะถึงจุดนั้นร้านค้าปลีกจะลดลงจนหายไปในที่สุด และถูกควบรวมโดยปลาใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น SE-ED, ร้านหนังสือนายอินทร์ และ B2S หรือไม่ก็ร้านหนังสือข้ามชาติอย่าง Kinokuniya เรียกว่าไม่ใช่ปลาใหญ่เข้ามากินปลาเล็ก แต่เป็นการที่ปลาเล็กจำใจเดินเข้าปากปลาใหญ่เอง ร้านค้าปลีกหนังสือจะอยู่ได้ต้องหันมาจับงานบริการ ประสานงาน หรือขายตรงและเสนอสินค้าเข้าระบบของปลาใหญ่ หรือไม่ก็สร้างระบบ online ขายตรงถึงผู้บริโภคเลย แต่ต้องเป็นประเภทสินค้าๆ แบบเฉพาะทางจริงๆ
จะยังไม่เห็นชัดเจนในช่วง 10 ปีนี้ แต่จะค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานาน และที่สุดจะเป็น less-paper แบบที่เป็น paperless คือไม่มีกระดาษเลยคงยากเกินจินตนาการในศตวรรษนี้ ตัวแปรที่จะทำให้ใช้เวลานานกว่าจะเป็น less-paper:
1. ความติดยึดกับวัตถุคือกระดาษและหนังสือ เพราะเป็นของสะสม แม้จะมีคนใช้ Tablet มากขึ้นเรื่อยๆ แต่กระดาษและหนังสือก็จะเป็นของสะสมและมีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น มากกว่าเพียงเนื้อความที่ใช้สื่อสาร
2. เทคโนโลยีปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่แก้ปัญหาเรื่องการอ่านจากหน้าจออิเล็กโทรนิค (1) ทำลายกล้ามเนื้อตา ม่านตา และจอประสาทตา ด้วยแสงสว่างจ้าที่พุ่งเข้าลูกตาโดยตรง ไม่เหมือนการอ่านจากกระดาษหรือหนังสือซึ่งเป็นแสงจากการตกกระทบ (2) สื่อสารด้วยภาษาเขียนแบบพิมพ์สัมผัสทำไม่ได้ เพราะผู้ใช้ tablet ใช้นิ้วจิ้มที่ีละตัวซึ่งไม่เร็วเท่าการพิมพ์สัมผัส ใครที่ใช้ระบบพิมพ์สัมผัสบนหน้าจอ ทั้งของ SAMSUNG และ IPAD ทราบดีว่าไม่ work ถ้าหันไปใช้การสื่อสารด้วยการคุย online เลยก็ไม่ตอบโจทย์เพราะการสื่อสารหลายอย่างสื่อด้วยภาษาเขียนดีที่สุด (3) ขนาดของคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ Tablet ปัจจุบันยังใหญ่โตมากทำให้ไม่คล่องตัว และเป็นภาระต้องแบกหามมากกว่าทำให้สบายตัว เทคโนโลยีที่ดีต้องพกพาได้ง่ายจนรู้สึกเหมือนไม่ได้พกพาเลย
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทุกวันนี้กำลังพัฒนาไปสู่โลกที่แทบไม่ต้องใช้กระดาษ แต่เป็น less-paper ไม่ใช่ paperless และสิ่งนี้ควรได้รับการส่งเสริมจากผู้บริโภคในสังคมที่พร้อมจะเป็นกลุ่มทดลองการพัฒนาสินค้าonline ต่างๆ ซึ่งกลุ่มทดลองนี้จำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าไม่มีผู้บริโภคสินค้ากลุ่มนี้ เทคโนโลยีจะไม่มีวันได้พัฒนาไปสู่สังคมที่เป็น less-paperless ได้
3. ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ผลิตสื่อ online ซึ่งละเมิดได้ง่ายกว่าหนังสือมากนัก และของลอกเลียนแบบดูไม่ต่างจากของจริงทำให้เกิดการทำลายระบบราคาสินค้าในตลาด ลดมูลค่าสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ
อุตสาหกรรมหนังสือและสิ่งพิมพ์ในอนาคตจะเป็นการขายระบบและลิขสิทธิ์มากกว่าการขายปลีกหนังสือเป็นเล่มๆ หรืออาจเป็นการขายสิทธิ์การอ่านหนังสือ online แต่กว่าจะถึงจุดนั้นร้านค้าปลีกจะลดลงจนหายไปในที่สุด และถูกควบรวมโดยปลาใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น SE-ED, ร้านหนังสือนายอินทร์ และ B2S หรือไม่ก็ร้านหนังสือข้ามชาติอย่าง Kinokuniya เรียกว่าไม่ใช่ปลาใหญ่เข้ามากินปลาเล็ก แต่เป็นการที่ปลาเล็กจำใจเดินเข้าปากปลาใหญ่เอง ร้านค้าปลีกหนังสือจะอยู่ได้ต้องหันมาจับงานบริการ ประสานงาน หรือขายตรงและเสนอสินค้าเข้าระบบของปลาใหญ่ หรือไม่ก็สร้างระบบ online ขายตรงถึงผู้บริโภคเลย แต่ต้องเป็นประเภทสินค้าๆ แบบเฉพาะทางจริงๆ
No comments:
Post a Comment