Saturday, September 01, 2012

ย้อนรอยประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย: มูลเหตุฟองสบู่ปี 40

ปี 2536 เศรษฐกิจไทยกำลังโต รัฐบาลเปิดเสรีทางการเงิน Bangkok International Banking Facilities (BIBF) หรือ กิจการวิเทศธนกิจ ทำให้สถาบันการเงินไทยสามารถหาแหล่งเงินกู้นอกประเทศได้ มูลเหตุหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดนโยบายเช่นนี้ก็เพราะรัฐต้องการเงินกู้ต่างประเทศเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างประเทศไปสู่อุตสาหกรรมหนัก (Nics)

ช่องทางดังเกล่าเป็นผลทำให้บริษัทในประเทศและหันไประดมทุนจากต่างประเทศในรูปแบบต่างๆได้อย่างเสรี โดยไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ก็ออกตราสารหนี้ที่ต่างประเทศ ดึงเงินทุนไหลเข้าประเทศมากมาย ชาวต่างชาติที่ถือตราสารหนี้เหล่านั้นมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งผลดีก็คือทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในตลาดทุนของประเทศจำนวนมหาศาล เป็นการดึงเงินต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้ให้ธุรกิจในประเทศบนพื้นฐานความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ภาพลักษณ์ของประเทศดูดีมาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกขณะนั้นก็ต่ำกว่าในประเทศไทย เงินลงทุนยิ่งไหลเข้ามามากขึ้นโดยหวังค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่บริษัทหลักทรัพย์จะนำไปปล่อยให้กับบริษัทในประเทศอีกที

ต่อมานักเก็งกำไรค่าเงินทั่วโลกเห็นช่องทางในการเก็งกำไรค่าเงินบาท เลยยิ่งทำให้เกิดอุปสงค์มากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะโตเร็วเกินไปจนกลายเป็นเงินเฟ้อ แต่ภาคส่งออกกลับหดตัว ต่างชาติเริ่มขาดความมั่นใจ โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาที่มีเจ้าของโครงการขาดทุน ไม่มีเงินส่งดอกให้สถาบันเงินกู้ในประเทศซึ่งไปกู้เจ้าหนี้ต่างประเทศอีกที สถาบันการเงินของไทยเป็นหนี้ต่างประเทศหลายแสนล้าน ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งปิดกิจการสถาบันการเงิน 58 แห่ง ในจำนวนนี้มีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (BBC) ที่มีคุณ ราเกซ สักเสนาเป็นผู้บริหาร และบลจ เอกธนกิจที่มีคุณ ปิ่น จักกะพากเป็นผู้บริหารอยู่ด้วย

กรกฎาคม 40 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบ basket เป็น managed float เพราะฝืนเอาเงินสำรองระหว่างประเทศตรึงค่าเงินบาทที่ขาดดุลอยู่ไม่ไหว ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับขึ้นจาก 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาทเป็น 45 บาท ตามสภาวะตลาดที่แท้จริง สถานะการดังกล่างยิ่งทำให้หนี้สินต่างประเทศที่มีมากอยู่แล้วยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ ธุรกิจการเงินต้องล้มละลายและปิดตัวลงเพราะไม่มีสตางค์จ่ายหนี้ที่เพิ่มเป็นเท่าทวีคูณจากอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ คณะรัฐมนตรีขณะนั้นมีประกาศให้ประกันเจ้าหนี้และผู้มีเงินฝากกับสถาบันการเงินโดยให้ผู้มีเงินฝากอยู่กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย พูดง่ายๆคือให้ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจอย่างกรุงไทยมาอุ้มบรรดาเจ้าหนี้และประชาชนไว้นั่นเองเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน หรือ DEPOSIT RUN ในระบบสถาบันการเงินไทย ส่วนเงินที่เอามาอุ้มก็ไปกู้มาจาก International Monetary Fund (IMF) อีกที






ข้อมูลอ้างอิง







No comments: