Wednesday, September 05, 2012

เรื่องของข้าว ราคาข้าว ประกันราคา จำนำข้าว etc.

การจำนำข้าว  คือการเอาข้าวมาค้ำประกันเงินกู้ พอครบกำหนดก็เอาเงินมาไถ่ข้าวไปขาย ไม่ต่างจากการเข้าโรงรับจำนำแล้วเอาทองไปจำนำ แต่ต่างที่ถ้าเป็นทองคำเมื่อราคาทองขึ้นเจ้าของก็จะนำตั๋วสัญญาจำนำไปไถ่ถอนคืนเอาทองกลับมา แต่ถ้าเป็นข้าวแล้วยิ่งเก็บนานมีแต่ข้าวจะเก่าลงราคาตก จึงไม่ค่อยมีใครมาไถ่คืนจากรัฐ ปล่อยให้ ธกส. ยึดข้าวไปขายทอดตลาด
Rice pledging scheme vs. rice mortgage scheme

สัมภาษณ์ กรณ์ จติกวนิช ให้กับเนชั่น

"If you go to the lower North or northern Central regions, you will see construction of rice barns. It is estimated that from the rent - Bt2 per sack - that they store the rice for the government and hit a break-even point for the construction in 36 months. That means they get those barns for free.

ถ้าเป็นอย่างคุณกรณ์ว่าจริง ...

ประเทศไทยจากเบอร์ 1 กลายเป็น 2, 3



Saturday, September 01, 2012

ย้อนรอยประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย: มูลเหตุฟองสบู่ปี 40

ปี 2536 เศรษฐกิจไทยกำลังโต รัฐบาลเปิดเสรีทางการเงิน Bangkok International Banking Facilities (BIBF) หรือ กิจการวิเทศธนกิจ ทำให้สถาบันการเงินไทยสามารถหาแหล่งเงินกู้นอกประเทศได้ มูลเหตุหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดนโยบายเช่นนี้ก็เพราะรัฐต้องการเงินกู้ต่างประเทศเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างประเทศไปสู่อุตสาหกรรมหนัก (Nics)

ช่องทางดังเกล่าเป็นผลทำให้บริษัทในประเทศและหันไประดมทุนจากต่างประเทศในรูปแบบต่างๆได้อย่างเสรี โดยไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ก็ออกตราสารหนี้ที่ต่างประเทศ ดึงเงินทุนไหลเข้าประเทศมากมาย ชาวต่างชาติที่ถือตราสารหนี้เหล่านั้นมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งผลดีก็คือทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในตลาดทุนของประเทศจำนวนมหาศาล เป็นการดึงเงินต่างประเทศเข้ามาปล่อยกู้ให้ธุรกิจในประเทศบนพื้นฐานความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ภาพลักษณ์ของประเทศดูดีมาก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกขณะนั้นก็ต่ำกว่าในประเทศไทย เงินลงทุนยิ่งไหลเข้ามามากขึ้นโดยหวังค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่บริษัทหลักทรัพย์จะนำไปปล่อยให้กับบริษัทในประเทศอีกที

ต่อมานักเก็งกำไรค่าเงินทั่วโลกเห็นช่องทางในการเก็งกำไรค่าเงินบาท เลยยิ่งทำให้เกิดอุปสงค์มากขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะโตเร็วเกินไปจนกลายเป็นเงินเฟ้อ แต่ภาคส่งออกกลับหดตัว ต่างชาติเริ่มขาดความมั่นใจ โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาที่มีเจ้าของโครงการขาดทุน ไม่มีเงินส่งดอกให้สถาบันเงินกู้ในประเทศซึ่งไปกู้เจ้าหนี้ต่างประเทศอีกที สถาบันการเงินของไทยเป็นหนี้ต่างประเทศหลายแสนล้าน ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งปิดกิจการสถาบันการเงิน 58 แห่ง ในจำนวนนี้มีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (BBC) ที่มีคุณ ราเกซ สักเสนาเป็นผู้บริหาร และบลจ เอกธนกิจที่มีคุณ ปิ่น จักกะพากเป็นผู้บริหารอยู่ด้วย

กรกฎาคม 40 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบ basket เป็น managed float เพราะฝืนเอาเงินสำรองระหว่างประเทศตรึงค่าเงินบาทที่ขาดดุลอยู่ไม่ไหว ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับขึ้นจาก 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาทเป็น 45 บาท ตามสภาวะตลาดที่แท้จริง สถานะการดังกล่างยิ่งทำให้หนี้สินต่างประเทศที่มีมากอยู่แล้วยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ ธุรกิจการเงินต้องล้มละลายและปิดตัวลงเพราะไม่มีสตางค์จ่ายหนี้ที่เพิ่มเป็นเท่าทวีคูณจากอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ คณะรัฐมนตรีขณะนั้นมีประกาศให้ประกันเจ้าหนี้และผู้มีเงินฝากกับสถาบันการเงินโดยให้ผู้มีเงินฝากอยู่กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาถือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย พูดง่ายๆคือให้ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจอย่างกรุงไทยมาอุ้มบรรดาเจ้าหนี้และประชาชนไว้นั่นเองเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน หรือ DEPOSIT RUN ในระบบสถาบันการเงินไทย ส่วนเงินที่เอามาอุ้มก็ไปกู้มาจาก International Monetary Fund (IMF) อีกที






ข้อมูลอ้างอิง