ปัญหาและอนาคตของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ป.ตรี ป.โท และ ป.เอก)
วันนี้โครงการปริญญาโทสาขาวิชาภาษาอังกฤษ กำลังประสบภาวะขาดดุลงบประมาณอันสืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายโครงการสูงกว่ารายรับจากค่าลงทะเบียนของนิสิต ที่เป็นเช่นนี้เพราะตัวแปรสำคัญในการบริหารคือคณาจารย์ที่ไม่สามารถผลักงานวิจัยทั้งวิทยานิพนธ์ และรายงานการค้นคว้าอิสระของนิสิตให้จบลงตามเวลาที่กำหนดได้ แม้หลักสูตรกำหนดระยะเวลาทำวิจัยไว้หนึ่งปี นิสิตรุ่นก่อนๆทำวิทยานิพนธ์กันหลายปีกว่าจะจบ เมื่อนิสิตรุ่นเก่าก่อนยังไม่จบการศึกษา อาจารย์ผู้คุมวิทยานิพนธ์จึงรับนักศึกษารุ่นใหม่ได้จำกัด เป็นผลให้โครงการปริญญาโทจำต้องลดโควต้าการรับนิสิตเข้าศึกษาลงเรื่อยๆทุกปี จนปัจจุบันมีนิสิตปริญญาโทภาคปกติเพียง 5 คน และภาคพิเศษ 15 คน ต่อรุ่น จากจำนวนผู้สมัครนับร้อย อุปทานของตลาดการศึกษาไม่ตอบสนองอุปสงค์ของตลาดการศึกษาที่มีฐานกว้างมากขึ้นๆทุกวัน
ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปโดยไม่แก้ไข โครงการจะต้องใช้กำไรสะสมจากปีก่อนๆมาบริหาร ซึ่งก็จะประคองค่าใช้จ่ายอยู่ได้ไม่นาน และที่สุดก็มีอันต้องปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาภาษาอังกฤษลงด้วยเหตเพียงเพราะโครงสร้างการบริหารไม่เอื้อหรืออำนวยความสะดวกนิสิตสามารถปิดเล่มวิทยานิพนธ์หรือรายงานค้นคว้าอิสระได้ตามกำหนด เมื่อโครงการปริญญาโทจำต้องปิดตัวลงด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าปัญหาขาดดุลงบประมาณจะไม่เกิดขึ้นกับหลักสูตรปริญญเอกด้วยเหตุผลเดียวกัน นี่เป็นเพราะเรายังไม่เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับปริญญาโทเลย ดังนั้นปัญหาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นอีกเช่นกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะสาเหตุของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
ถ้าไม่มีหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก เราอาจคิดว่าจะเป็นไรเสีย เพราะเมื่อขาดทุนก็ต้องปิดตัวลงเสียตามกลไกตลาด แต่ที่ชวนให้น่าคิดคือการปิตตัวลงของโครงการไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดการศึกษาเพราะอุปสงค์ในการเรียนภาษาอังกฤษในเมืองไทยพุ่งขึ้นอันสังเกตได้จากจำนวนยอดผู้สมัครเรียน แต่โครงการกลับขาดทุน เป็นเพราะเหตุใด?
คงไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าถ้ามหาวิทยาลัย(English Major)ไม่มีหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกเสียแล้ว จะเป็นอย่างไร จนกว่าที่จะถึงปี 2558 ที่ประเทศไทยจะร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซี่ยนแล้ว ตามข้อตกลงของ AEC ถึงตอนนี้นักศึกษาจะเป็นผู้เลือกสถาบันการศึกษา ที่จะมีเปิดสาขาวิชาภาษาอังกฤษกันอย่างกว้างขวางเพื่อรองรับแรงงานไทยที่จะไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และยังไม่นับถึงแรงงานประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยซึ่งจะมีผลให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ในที่ทำงาน ถึงเวลานั้นสาขาวิชาภาษาอังกฤษจะเปิดกันจนล้นตลาดการศึกษา ถึงเวลานั้นนักศึกษาจะถามว่าทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัย ทำไมไม่ไปเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆที่มีคณาจารย์จาก สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือ พม่า คณาจารย์จากประเทศเหล่านั้นตอนนี้กำลังเรียนวิชาภาษาไทยกันอย่างขมักเขม้น เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้ามาเป็นแรงการการศึกษาในสถาบันภาษาต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา
เมื่อถึงวันนั้นนแล้วเราจะตอบคำถามนักศึกษาที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษว่าทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยว่าอย่างไร เพราะงานวิจัยของสาขาก็ไม่มี นักศึกษาปริญญาโทก็ไม่มี อย่าว่าแต่ปริญญาเอก เรียนจบปริญญาตรีแล้วก็ตันไม่มีการต่อยอดองค์ความรู้ เวลานี้ตลาดการศึกษาอยู่ในภาวะเฟ้อ พูดง่ายๆคือตลาดเป็นของสถาบัน แต่เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีทางการศึกษาอันเป็นผลมาจากข้อตกลง AEC แล้ว วันนั้นตลาดจะเป็นของผู้เรียนและคำถามที่อยู่ในใจผู้เรียนนี้คงยากจะหาคำตอบ ถึงวันนี้เราจะไม่ได้ขาดทุนงบประมาณอย่างที่เป็นอยู่ในวันนี้ แต่เป็นขาดทุนเพราะเป็นสภาพจำยอมเนื่องจากไม่มีใครอยากเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัย ด้วยเข้าใจว่าหลักสูตรของเราไม่เข้มข้น เพราะไม่มีงานวิจัย หรือหลักสูตรโท เอก ต่อยอด หลักสูตรภาษาอังกฤษปริญญาตรีภาษาอังกฤษที่เปิดรับนักศึกษาอยู่เป็นร้อยคนตอนนั้นก็จะประสบภาวะถดถอยเพราะโดยแย่งส่วนแบ่งตลาดจากมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีเช่นกัน ปัญหาที่เกิดปริญญาโทในวันนี้จึงจะกระทบกับระดับปริญญาตรีในอนาคต เรียกง่ายๆว่า เมื่อปริญญาโทล้ม ปริญญาเอกก็เปิดไม่ได้ และที่สุดปริญญาตรีที่เปิดอยู่ก็ขาดจุดขายในเรื่องความน่าเชื่อถือในเชิงคุณภาพทางวิชาการในสายตาของผู้เรียน
วันนี้โครงการปริญญาโทสาขาวิชาภาษาอังกฤษ กำลังประสบภาวะขาดดุลงบประมาณอันสืบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายโครงการสูงกว่ารายรับจากค่าลงทะเบียนของนิสิต ที่เป็นเช่นนี้เพราะตัวแปรสำคัญในการบริหารคือคณาจารย์ที่ไม่สามารถผลักงานวิจัยทั้งวิทยานิพนธ์ และรายงานการค้นคว้าอิสระของนิสิตให้จบลงตามเวลาที่กำหนดได้ แม้หลักสูตรกำหนดระยะเวลาทำวิจัยไว้หนึ่งปี นิสิตรุ่นก่อนๆทำวิทยานิพนธ์กันหลายปีกว่าจะจบ เมื่อนิสิตรุ่นเก่าก่อนยังไม่จบการศึกษา อาจารย์ผู้คุมวิทยานิพนธ์จึงรับนักศึกษารุ่นใหม่ได้จำกัด เป็นผลให้โครงการปริญญาโทจำต้องลดโควต้าการรับนิสิตเข้าศึกษาลงเรื่อยๆทุกปี จนปัจจุบันมีนิสิตปริญญาโทภาคปกติเพียง 5 คน และภาคพิเศษ 15 คน ต่อรุ่น จากจำนวนผู้สมัครนับร้อย อุปทานของตลาดการศึกษาไม่ตอบสนองอุปสงค์ของตลาดการศึกษาที่มีฐานกว้างมากขึ้นๆทุกวัน
ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปโดยไม่แก้ไข โครงการจะต้องใช้กำไรสะสมจากปีก่อนๆมาบริหาร ซึ่งก็จะประคองค่าใช้จ่ายอยู่ได้ไม่นาน และที่สุดก็มีอันต้องปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาภาษาอังกฤษลงด้วยเหตเพียงเพราะโครงสร้างการบริหารไม่เอื้อหรืออำนวยความสะดวกนิสิตสามารถปิดเล่มวิทยานิพนธ์หรือรายงานค้นคว้าอิสระได้ตามกำหนด เมื่อโครงการปริญญาโทจำต้องปิดตัวลงด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าปัญหาขาดดุลงบประมาณจะไม่เกิดขึ้นกับหลักสูตรปริญญเอกด้วยเหตุผลเดียวกัน นี่เป็นเพราะเรายังไม่เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดกับปริญญาโทเลย ดังนั้นปัญหาเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นอีกเช่นกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะสาเหตุของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
ถ้าไม่มีหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก เราอาจคิดว่าจะเป็นไรเสีย เพราะเมื่อขาดทุนก็ต้องปิดตัวลงเสียตามกลไกตลาด แต่ที่ชวนให้น่าคิดคือการปิตตัวลงของโครงการไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดการศึกษาเพราะอุปสงค์ในการเรียนภาษาอังกฤษในเมืองไทยพุ่งขึ้นอันสังเกตได้จากจำนวนยอดผู้สมัครเรียน แต่โครงการกลับขาดทุน เป็นเพราะเหตุใด?
คงไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าถ้ามหาวิทยาลัย(English Major)ไม่มีหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกเสียแล้ว จะเป็นอย่างไร จนกว่าที่จะถึงปี 2558 ที่ประเทศไทยจะร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซี่ยนแล้ว ตามข้อตกลงของ AEC ถึงตอนนี้นักศึกษาจะเป็นผู้เลือกสถาบันการศึกษา ที่จะมีเปิดสาขาวิชาภาษาอังกฤษกันอย่างกว้างขวางเพื่อรองรับแรงงานไทยที่จะไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และยังไม่นับถึงแรงงานประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยซึ่งจะมีผลให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ต้องใช้ในที่ทำงาน ถึงเวลานั้นสาขาวิชาภาษาอังกฤษจะเปิดกันจนล้นตลาดการศึกษา ถึงเวลานั้นนักศึกษาจะถามว่าทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัย ทำไมไม่ไปเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆที่มีคณาจารย์จาก สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ หรือ พม่า คณาจารย์จากประเทศเหล่านั้นตอนนี้กำลังเรียนวิชาภาษาไทยกันอย่างขมักเขม้น เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้ามาเป็นแรงการการศึกษาในสถาบันภาษาต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา
เมื่อถึงวันนั้นนแล้วเราจะตอบคำถามนักศึกษาที่ต้องการเรียนวิชาภาษาอังกฤษว่าทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยว่าอย่างไร เพราะงานวิจัยของสาขาก็ไม่มี นักศึกษาปริญญาโทก็ไม่มี อย่าว่าแต่ปริญญาเอก เรียนจบปริญญาตรีแล้วก็ตันไม่มีการต่อยอดองค์ความรู้ เวลานี้ตลาดการศึกษาอยู่ในภาวะเฟ้อ พูดง่ายๆคือตลาดเป็นของสถาบัน แต่เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีทางการศึกษาอันเป็นผลมาจากข้อตกลง AEC แล้ว วันนั้นตลาดจะเป็นของผู้เรียนและคำถามที่อยู่ในใจผู้เรียนนี้คงยากจะหาคำตอบ ถึงวันนี้เราจะไม่ได้ขาดทุนงบประมาณอย่างที่เป็นอยู่ในวันนี้ แต่เป็นขาดทุนเพราะเป็นสภาพจำยอมเนื่องจากไม่มีใครอยากเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัย ด้วยเข้าใจว่าหลักสูตรของเราไม่เข้มข้น เพราะไม่มีงานวิจัย หรือหลักสูตรโท เอก ต่อยอด หลักสูตรภาษาอังกฤษปริญญาตรีภาษาอังกฤษที่เปิดรับนักศึกษาอยู่เป็นร้อยคนตอนนั้นก็จะประสบภาวะถดถอยเพราะโดยแย่งส่วนแบ่งตลาดจากมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีเช่นกัน ปัญหาที่เกิดปริญญาโทในวันนี้จึงจะกระทบกับระดับปริญญาตรีในอนาคต เรียกง่ายๆว่า เมื่อปริญญาโทล้ม ปริญญาเอกก็เปิดไม่ได้ และที่สุดปริญญาตรีที่เปิดอยู่ก็ขาดจุดขายในเรื่องความน่าเชื่อถือในเชิงคุณภาพทางวิชาการในสายตาของผู้เรียน
No comments:
Post a Comment