มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ: ใครได้ใครเสีย
ข้อดีคือมหวิทยาลัยมีอิสระในเชิงนโยบายและการบริหารมากขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาในเชิงวิชาการได้ดีขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันระหว่างองค์กรทั้งภายในและภายนอก แต่การแข่งขันนั้นในเวลาเดียวกันก็ยังให้เกิดผลในเชิงธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังสังเกตได้จากการเปิดหลักสูตรมากขั้นเพื่อการอยู่รอดและการแข่งเพราะได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐน้อยลง ปริมาณผู้เรียนต่อหลักสูตรจึงจำเป็นต้องมากขึ้นและนี่อาจกระทบต่อคุณภาพการสอน ตัวอย่างเช่นอาจารย์ผู้สอนต้องตรวจงานนักศึกษาเพิ่มขึ้น อีกทั้งประเด็นต่างๆที่จะตามมา เช่นการวัดผลการศึกษา ฯลฯ อาจารย์ถูกล่อลองด้วยรายได้นอกระบบ (จากการสอนในหลักสูตรพิเศษต่างๆ) จนกลายเป็นกรรมกรในอุตสาหกรรมการศึกษา แทนที่จะเป็นนักวิจัยและค้นคว้าหาองก์ความรู้ให้สังคม
ในแง่มุมของนักศึกษา จะต้องจ่ายค่าหน่วยกิตเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าเงินเดือนให้กับบุคคลากรของสถาบันซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐน้อยลง ประเด็นนี้อยู่ที่ว่ามหาวิทยาลัยจะเพิ่มค่าหน่วยกิตไม่ให้มากกว่าเดิมจนเกินไปได้อย่างไร ถ้าเพิ่มนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ถ้าเพิ่มมากก็จะเป็นปัญหากับนักศึกษาที่ต้องพึ่งกองทุนการศึกษาของรัฐอีก ดังนั้นก็เท่ากับว่าแทนที่รัฐจะลดต้นทุนการสนับสนุนภาคการศึกษา แต่กลับต้องมาปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักศึกษาอีก (เท่ากับลดต้นทุนของรัฐจริง แต่ก็ต้องไปจ่ายเพิ่มเป็นเงินกู้ผลตอนแทนต่ำอีก) เพื่อไม่ให้ค่าหน่วยกิตเพิ่มมากจนเกินไปหลังมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มหาวิทยาลัยคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับนักศึกษาเพิ่มด้วยเหตุผลแห่ง economy of scale ตามหลักเศรษศาสตร์ ดูผิวเผินเหมือนว่ามหาวิทยาลัยและผู้เรียนได้ประโยชน์ คือมหาวิทยาลัยมีรายได้มากขึ้น ผู้เรียนก็เรียนจบง่ายขึ้น แต่จริงๆในระยะยาวจะเป็นการลดมาตราฐานการศึกษาของสถาบัน ลดมาตราฐานการสอนของอาจารย์ และลดคุณภาพของบัณฑิต เพราะแน่นอนว่าปริมาณนักศึกษาจะมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่คุณภาพต่ำเพราะมหาวิทยาลัยเอาแต่รับเพิ่มๆ เปิดหลักสูตรเพิ่ม อาจารย์เอาแต่สอนภาคพิเศษ ภาคค่ำ บาปตกที่นักศึกษาที่ทุกวันนี้บ่นแต่เรื่องค่าหน่วยกิต ซึ่งจริงๆเป็นเพียงปัญหาแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น
No comments:
Post a Comment