Sunday, February 15, 2009

China (7): One-child Policy

แรงงานจีนในยุคนั้นมีมากและเติบโตจนล้นออกนอกประเทศ ซึ่งก็เป็นที่มาให้รัฐบาลสมัยนั้นอ้างเหตุแก้ปัญหาทางเศรษกิจโดยประกาศ นโยบายลูกหนึ่งคนต่อหนึ่งครอบครัวในปี 1979 หากครอบครัวใดมีบุตรคนที่สองรัฐบาลก็จะลดการสนันสนุนทางการเงิน และอาจต้องจ่ายเบี้ยหวัดให้กับรัฐ รายละเอียดในเรื่องนี้ แตกต่างกันตามมณฑล และเป็นข้อมูลไม่เปิดเผย เพราะนโยบายดังกล่าวเปิดช่องให้เจ้าพนักงานของรัฐฉ้อฉล โดยรับเงินใต้โต็ะเพื่อแลกกับการปิดปากทางการเรื่องจำนวนบุตร และยังทำให้เกิดการทำแท้งผิดกฏหมายกับทารกเพศหญิงอีกจำนวนมากมาย แต่เรื่องนี้ไม่มีงานวิจัยสนับสนุน และไม่มีหลักฐานเพราะเป็นการตกลงกันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเป็นเรื่องเล่าปากต่อปาก เพราะวัฒนธรรมจีนถือว่าชายเป็นผู้สืบสกุล เมื่อทารกที่คลอดออกมาเป็นลูกสาวจึงฆ่าทิ้ง ในบางมณฑลถึงกับต้องออกนโยบายบางอย่างเช่น หากลูกคนแรกเป็นหญิง ให้มีลูกคนที่สองได้อีกแต่ต้องเว้นไปอีก 5 ปี หรือหากคนแรกพิการ ก็ให้มีบุตรคนที่สองได้อีก แต่นโยบายดังกล่าวก็ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องการเลือกเพศบุตรเพราะคนที่สองก็ยังอาจเป็นหญิงอีก จนรัฐบาลในยุคต่อมาต้องประกาศให้บุตรที่เกิดมาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้นามสกุลของบิดาหรือมารดาโดยถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้สตรีสามารถสืบวงตระกูลได้เช่นกัน แม้ปัญหาเรื่องการเลือกเพศบุตรจะเบาบางไปมากแล้วสำหรับคนจีนปัจจุบัน ลูกหลานชาวจีนที่เกินขึ้นจากนโยบายนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นรุ่นที่เสียสละเพื่อประเทศโดยแท้ ที่ต้องเติบโตขึ้นมาโดยไม่มีพี่มีน้อง และต้องแบกรับภาระและความหวังจากครอบครัว ประกอบกับการแข่งขันซึ่งสูงมาก ทั้งตลอดชีวิตการเรียน และการทำงาน สภาวะจิตใจของชาวจีนรุ่น 'เสียสละเพื่อชาติ' จะเป็นเช่นไรนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่อาจชดเชยให้ได้ และนโยบายดังกล่าวยังขัดกับสิทธิขึ้นพื้นฐานในการสืบพันธุ์ของมนุษย์อีกด้วย

No comments: