Friday, July 28, 2017

Preparation: 
JR Pass bought at JTB Silom Complex for 8,700.- ea., plane tickets, Passport renewal, Pocket WiFi bought at Narita Airport, exchanged for JPY, hotels booked (Booking, Agoda, Japanican)

Itinerary:
Sun 16 July: Arrived at Narita Airport and headed for music business at Osaka Hotel Shin-Imamiya.
Mon 17 July: Left Osaka for Kiikatsuura Station, took a ferry to Hotel Urashima. Enjoyed the hotel big dinner buffet. 
Tue 18 July: Bought a day pass ticket to Daimonzaka Slope and Nachi Fall. Then left for Wakayama and checked in at Daiwa Roynett.
Wed 19 July: Went to the fish market at Marina City in the morning and left for Tokyo. Arrived in Tokyo and stayed at Shinjuku Kuyakusho-mae. Unfortunately couldn't go to the music street for music business at Ochanomizu as intended. Met an old friend for a dinner.
Thu 20 july: Left all the luggage at locker at Ueno Station and went to Kusatsu. Stopped at NaganoharaKusatsu station and took a bus to Kusatsu for just 25 mins. Enjoy Yubatake, Sainokawara Park. Had dinner and Asahi beer with good view from the restaurant's second floor overlooking Yabutake.
Fri 21 July: Took a bus back to the NaganoharaKusatsu station and continued onward to Tokyo at Ueno station. Arrived at Narita Airport and return the pocket WiFi router. The plane took off 9pm and arrived BKK 1am+1.




Saturday, July 08, 2017

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนจากต่างประเทศมากที่สุดในโลก พูดง่ายๆคือเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลก แซงหน้าแชมป์เก่าอย่างมหานครลอนดอนอย่างเฉียดฉิว CB Richard Ellis ประเมินว่าราคาที่ดินทำเลทองในกรุงเทพฯจะปรับฐานในอีก 3-5 ปี ปัจจุบันจึงเกิดโครงการอสังหาฯขนาดใหญ่รองรับการเติบโต วันนี้จะพูดเรื่องมวยคู่แรก พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ทำเลทองสองฝั่งเจ้าพระยา Asiatique vs. Icon Siam


          Asiatique & The Landmark Waterfront: บริเวณตีนสะพานตากสินฝั่งพระนครเริ่มตั้งแต่ตลาดบางรัก โรงเรียนอัสสัมชัญ วัดยานาวา โรงเรียนวัดสุทธิวราราม สะพานปลา โรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury เลียบถนนเจริญกรุงตลอดแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึง Asiatique ครอบคลุมโครงการ The Landmark Waterfront มูลค่าเกือบสองหมื่นล้าน ที่มีโรงแรมหรู 6 ดาว อย่าง Capella และ โรงแรม Jumeirah จากดูไบ ศูนย์การค้า และคอนโดหรูขนาด 36 ไร่ที่จะเกิดใหม่อย่าง Four Season Private Residences ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จปี 2561 จะเป็นอาคารสูงอันดับ 3 ของประเทศด้วยความสูง 305 เมตร สูงกว่าอาคารใบหยก2เพียง 1 เมตร, ปัจจุบันย่านนี้มีคอนโดเทลและโรงแรมหรูอยู่แล้วอย่าง Chatrium, Menam Residences, โรงแรมแม่น้ำ และโรงแรมทองธารา เสน่ห์ของย่านนี้คือความหรูหราลงตัวของที่อยู่อาศัยและที่พักของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ระดับ high-end กับสีสันของตลาดกลางคืน Asiatique ซึ่งแม้จะดูเหมือนตลาดนัดจัดฉากเพราะมีนักท่องเที่ยวจากทัวร์จีนมากกว่าคนในพื้นที่ แต่ก็มีจุดขายที่แตกต่างจากตลาดเก่าอย่างตลาดบางรักซึ่งเป็นตลาดของคนในพื้นที่จริงๆซึ่งอยู่ในระยะที่สามารถเดินถึงกันได้ ชิงช้าสวรรค์ของ Asiatique ยังเป็น landscape สำคัญของย่านนี้ สรุปว่าย่านนี้หัวตลาดท้ายตลาดจริงๆ แถมนักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบไทย ทั้งตลาด วัด และโรงเรียนเก่าแก่ เป็นเป็นสีสันของการใช้ชีวิตและท่องเที่ยวกรุงเทพฯจริงๆ

Icon Siam & หอชมเมืองกรุงเทพฯ: ย่านนี้ในอนาคตจะเป็นคู่เทียบและคู่แข่งสำคัญของย่านแรกเพราะอยู่กันคนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเลย นำโดยโครงการศูนย์การค้า โรงแรม และคอนโดหรูเกิดใหม่อย่าง Icon Siam บนพื้นที่ 40 ไร่จะมีอาคารสูงที่สุดในประเทศ 315 เมตร เกิดใหม่แซงหน้าสูงกว่าอาคารมหานครเพียง 1 เมตร โครงการระดับห้าหมื่นล้านนี้เป็นการร่วมทุนของกลุ่ม CP ภายใต้ชื่อ Magnolia และกลุ่มสยามพิวรรธน์ เจ้าของอาณาจักรศูนย์การค้า Siam Discovery, Siam Center, และ Siam Paragon เพราะฉะนั้นศูนย์การค้าของที่นี่คงไม่ธรรมดาแน่นอน แถมยังได้สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่างหอชมเมืองมีเป็นโคมประดับเหมือนเสือติดปีก ซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ว่าจะใช้ชื่อว่าอะไรระหว่าง The Unity Tower, Bangkok Observatory หรือ Icon Siam Tower ตลอดแนวมีโรงแรมหรูอย่าง The Peninsula, Hilton Millennium และคอนโดหรูอย่าง The River ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารสูงอันดับ 3 ของประเทศ ตลอดจนท่าเรือและตลาดคลอนสานยาวจนถึงโรงพยาบาลตากสิน เรียกว่าเอาตลาดคลองสานสู้ตลาดบางรักของฝั่งพระนคร โรงพยาบาลเลิศสินสู้โรงพยาบาลตากสินกันเลยทีเดียว ซึ่งตลอดแนวถนนเจริญนครนี้กำลังจะมีรถไฟฟ้าสายสีทองวิ่งผ่าน และนี้จะเป็นข้อได้เปรียบของ Icon Siam เหนือ Asiatique ซึ่งทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยนักท่องเที่ยวจีน หากนักท่องเที่ยวจีนยกพลกันมาฝั่งธนฯแล้ว Asiatique ยังจะมีอะไรสู้อีกหรือไม่เพราะจริงๆก็ยังที่ว่างริมน้ำที่ตอนนี้ใช้เป็นลานจอดรถ เมื่อ Icon Siam ได้ตัวช่วยอย่างหอชมเมืองไปครอง แถมยังมีเรือข้ามฟากเชื่อมต่อฝั่งท่าเรือด่วนเจ้าพระยาที่โรงแรม Royal Orchid Sheraton และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีทองรองรับ รับรองว่านักท่องเที่ยวจีนคงถูกโยกจากฝั่งเจริญกรุงมาฝั่งเจริญนครแน่ งานนี้งัดกันเต็มๆระหว่างเจ้าสัวธนินทร์และเจ้าสัวเจริญ แม้ความสูงของชิงช้าสวรรค์จะเทียบไม่ได้เลยกับความสูง 459 เมตรของหอชมเมืองที่ดูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Icon Siam ไปแล้วอย่างเลี่ยงไม่ได้(เพราะสมประโยชน์กัน) แต่การนั่งชิงช้าสวรรค์ก็ได้สัมผัสบรรยากาศที่ใกล้ชิดกับกลิ่นอายของแม่น้ำเจ้าพระยาได้มากกว่า แถมค่านั่ง 200.- บาทยังถูกกว่าค่าขึ้นหอ 750.- อีก 

กุญแจสำคัญ "ตลาดบางรัก" จุดเชื่อมต่อสองทำเลทอง
ต้องบอกว่าในอนาคตสองทำเลทองนี้จะเป็นมวยถูกคู่กันจริงๆ แต่หากอนาคตเจ้าสัวทั้งสองเปลี่ยนคู่แข่งเป็นพันธมิตรก็คงสมประโยชน์กันไม่น้อย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดีเพราะสะดวกกับนักท่องเที่ยว ทำให้ประเทศมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น กรุงเทพอาจจะยังรักษาตำแหน่งแชมป์เมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกได้ อีกหน่อยก็คงมีเรือท่องเที่ยวรับส่งระหว่างกัน เพราะตลาด outdoor ของ Asiatique ก็มีจุดขายต่างจากศูนย์การค้าใหญ่ติดแอร์อย่าง Icon Siam อยู่แล้ว แหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่จะเป็นจุดเชื่อมโยงทำเลทั้งสองไว้คือตลาดบางรัก เพราะแม้ดูจากระยะทางจะใกล้กับ Icon Siam มากกว่าแต่อยู่คนละฝั่งแน่นำ้กัน ต่างจาก Asiatique ที่แม้อยู่ไกลกว่าแต่ก็อยู่บนถนนเส้นเดียวกับเดินถึงกันได้เลย ด้านการคมนาคมทั้งสองทำเลจะมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยารองรับการเติบโตในอนาคต ฝั่งเจริญกรุงกำลังจะมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่องต่อจากถนนจันทน์บริเวณคอนโด Chatrium ถึงถนนเจริญนคร ส่วนฝั่งเจริญนครเองก็จะมีสะพานจากถนนลาดหญ้าหรือท่าเรือคลองสานเชื่อมกันฝั่งเจริญกรุง ทำให้สัญจรระหว่างสองฝั่งแม่น้ำสะดวกมากและเชื่อมถึงกัน

โอกาสหน้าจะพูดถึงมวยคู่ที่สอง One Bangkok vs. Super Tower & G Land ต่อไปครับ