มนุษย์: ความแตกต่างที่ลงตัว
องค์ประกอบที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์คือ หยิน กับ หยาง หรือโครโมโซม x กับ y สะท้อนออกมาในรูปแนวความคิดสองขั้วที่กำหนดการตัดสินใจของมนุษย์ ในระดับบุคคล ครอบครัว สังคมเศรษฐกิจของประเทศและของโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและครอบครัว
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตย่อมมีวิวัฒนาการ คือ dynamic
beings หยิน หยาง
คือลักษณะของหญิงและชายซึ่งเกิดมาคู่กัน แต่มีลักษณะไม่เหมือนกันทั้งนี้เพื่อถ่วงดุลกันและกันเพื่อให้เกิดวิวัฒนาการตามธรรมชาติ
นั่นหมายถึงการเติมเต็มกันและกัน
แต่ก็ยังหมายถึงการทะเลาะเบาะแว้งกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความลงตัวตามธรรมชาติ
คำกล่าวที่ผู้ชายว่า “Woman, can’t live with. Can’t live without” อธิบายได้ดีถึงความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ คือชายหญิงอยู่ด้วยกันก็ทะเลาะกัน
แต่ขาดกันก็ไม่ได้อีก ปรัชญาจีนเปรียบเทียบไว้ว่าชายคือขุนเขา หญิงคือสายน้ำ
ซึ่งเป็นความต่างที่ลงตัวตามธรรมชาติ หากเอาภูเขามาถมแม่น้ำเสียจะได้พื้นที่ราบแต่ไม่มีสิ่งมีชีวิตเพราะไม่มีฝนตก ความลงตัวตามธรรมชาติจึงไม่ได้อยู่ที่การเอาส่วนที่เกินมาหักลบกลบกับส่วนที่ขาดเพื่อให้ได้ค่ากลาง
ความลงตัวไม่ได้อยู่ที่เอาลักษณะของชายและหญิงมารวมไว้ในคนๆเดียวกลายเป็นเพศกลางหรือเพศที่สาม ธรรมชาติคือความต่างเพราะความต่างที่ถ่วงดุลกันเป็นที่มาของวิวัฒนาการ แต่นี่ก็เป็นพื้นฐานของความวุ่นวายไม่จบสิ้นของมนุษย์ด้วยเช่นกัน หากโลกของเราจะมีแต่หญิงล้วน
หรือชายล้วน ความวุ่นวายคงลดน้อยลงมาก แต่มนุษย์จะสูญพันธ์
หญิงมีลักษณะละเอียดรอบคอบ พิถีพิถันจนลังเลไม่มั่นใจ …คือ ‘นักเต้นระบำ’ เพราะเดินวนเวียนอยู่สวยงามแต่ไม่ไปไหนเสียที ชายมีลักษณะกล้าตัดสินใจ แต่ประมาท
ขาดความระมัดระวัง …คือ ‘นักพนัน’ เพราะชอบเสี่ยงอยู่ตลอดซึ่งก็เป็นคุณลักษณะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
แต่บางครั้งก็เสี่ยงจนหมดตัวจนรับผิดชอบความเสียหายไม่ไหว
ความสัมพันธ์ระดับสังคมและเศรษฐกิจ
ลักษณะที่ปรากฏในหญิงและชายนั้นเป็นตัวกำหนดความคิดในเรื่องต่างๆ
ตลอดจนแนวคิดทางการเมืองการปกครอง สังคมที่มีความคิดแบบหยางมากๆคือสังคมที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดโดยไม่ค่อยรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น สังคมที่มีลักษณะหยินมากๆก็จะมีลักษณะที่ตรงข้ามคือเน้นที่การอนุรักษ์สิ่งที่ดีไว้เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาแบ่งขั้วความคิดเป็นสองฝ่ายให้ชัดเจนไปเลยเป็นพรรค
Republican
และ Democrat แล้วให้ประชาชนลงคะแนนตัดสิน
แน่นอนที่สุดสองพรรคนี้สลับกันขึ้นมาปกครองประเทศ ยามใดประเทศมีแนวคิดแบบ Republican
สุดโต่งคนอเมริกันก็จะหันไปเทคะแนนให้ Democrat ในการเลือกตั้งสมัยหน้า ยามใดสังคมมีแนวคิดแบบ Democrat สุดโต่งสมัยต่อมาคนก็จะเทคะแนนให้ฝ่าย Republican มาก
เป็น dynamicity แบบนี้ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนา
สังคมแบบไทยกับทำตรงกันข้ามคือแทนที่จะแยกแนวนโยบายหยินหยางให้ชัดเจน
ทุกพรรคการเมืองมีนโยบายคล้ายๆกัน
แล้วเอาตัวบุคคลเป็นที่ตั้งมากกว่าแนวนโยบาย dynamicity
ในสังคมไม่เกิด การผูกขาดของพรรคต่อประชาชนเกิดขึ้นแต่พัฒนาการก็ไม่เกิด
ความลงตัวไม่ได้อยู่ที่การลอมชอมจนทุกคนเป็นเนื้อเดียวกันหมด
เพราะนั้นเป็นอันตรายต่อวิวัฒนาการเหมือนอย่างสังคมนิยม (Socialist)
ที่ทุกคนมีความคิดความเห็นไปในทิศทางเดียวกันแต่ประเทศไม่พัฒนา แตกต่างจากเสรีนิยม
(Liberal) ที่กล่าวมาข้างต้น
ดีทั้งหมดคือไม่ดี... เพราะไม่พัฒนา
ไม่ดีทั้งหมดยิ่งไม่ดี... เพราะเสื่อมลง
ดีบ้างไม่ดีบ้างปะปนกันจึงดี... เพราะเกิดพัฒนาการ
เช่นเดียวกับที่การเมืองมีแบบขวาจัด (liberal)
และซ้ายจัด (conservative) แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจของชาติย่อมมีความแตกต่างกันคนละขั้วเช่นกันคือทุนนิยมเสรี
(capitalist) และ นโยบายปกป้องประเทศจากทุนนิยมเสรี (protectionist)
นโยบายแบบทุนนิยมเสรีคือการมุ่งเน้นที่ความก้าวหน้าและการลงทุน
* กรณีหนี้สินกรีซที่สร้างไว้จนล้นพ้นตัวก็มาจากแนวนโยบายแบบหยางสุดโต่งที่มุ่งความเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดช่องว่างอันนำไปสู่การโกงกันในรัฐบาลก่อนๆ
จนตอนนี้ต้องใช้นโยบายแบบหยินกลายเป็นรัฐบาลที่รัดเข็มขัด
มุมมองทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับอนุรักษ์นิยม
(Capitalist
vs. Conservative) แนวความคิด ซึ่ง
หยินคือนโยบายสังคมเศรษฐกิจเชิงก้าวหน้า
(Progressive)
หยางคือนโยบายสังคมเศรษฐกิจเชิงป้องกัน
(Protective)
การศึกษาไทยและเทศ
การประกันคุณภาพ
“การแข่งขันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
แต่การเลือกที่จะไม่แข่งขันในสังคมที่มีการแข่งขันจะนำไปสู่การถูกยัดเยียดความพ่ายแพ้และบทลงโทษที่เกิดขึ้นอันเลี่ยงไม่ได้”