ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งไม่ได้มาจากเงินไหลเข้ามาลงทุนโดยตรงโดยเฉพาะตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นที่สถาบันการเงินในไทยนี่แหละที่เห็นส่วนต่างดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศ จึงกู้เงินตปท เพื่อมาปล่อยกู้ในประเทศ กินส่วนต่าง แถมเมื่อเงินบาทแข็งขึ้นยังได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก เรียกว่าได้สองต่อ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงอ้างว่าต้องลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อไม่ให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงต่างจากต่างประเทศจนเกินไป ซึ่งทำให้มีผู้ได้ประโยช์คือสถาบันการเงินเอกชนอยู่บนความเสียหายของประเทศ แต่สถาบันการเงินเหล่านั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรเพราะเขาค้าดอกเบี้ยอยู่แล้ว
แต่หากลดอัตราดอกเบี้ยทันทีทันใดในเวลานี้ในยามที่การลงทุนในประเทศกำลังเติบโตรวดเร็วเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วอาจเป็นการกระตุ้นให้ภาคประชาชนลดการออมและเพิ่มการลงทุน ทำให้เกิดเงินเฟ้อเฉียบพลันได้ นี่เป็นเหตุผลที่ธปท ไม่เห็นด้วยกับการลดอัตราดอกเบี้ยในทันที
ผมเห็นด้วยกับผู้ว่า ธปท แทนที่จะใช้นโยบายการเงินแบบเฉียบพลัน หันไปคิดหาประโยชน์จากเงินบาทแข็งดีกว่าเช่นส่งเสริมการนำเข้าทรัพยากรและวัตถุดิบจากตปท เพื่อลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับตปทดีกว่า และการลดดอกเบี้ยจะลดเท่าไหร่ น่าจะประมาณ .25% หรืออย่างมากก็ไม่เกิน .5% จะมีนัยสำคัญขนาดไหนที่จะทำให้คนย้ายเงินลงทุนไปที่อื่นจนกระทั่งค่าเงินเกิดอ่อนลงอย่างสังเกตได้ ดอกเบี้ยต่างชาติจะว่าไปก็มาหลายประเทศที่มากกว่าไทยเยอะ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย แต่ทำไมยังมีเงินเข้ามาลงทุนในไทย น่าจะเป็นเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากกว่า ดังนั้นการลดดอกเบี้ยเล็กน้อยไม่น่าเกิดผลกระทบให้เงินบาทแข็งได้ ถ้าให้เกิดผลจริงๆต้องลงเยอะหรืออาจไม่ต่ำกว่า 1% เลย ซึ่งแน่นอนว่าลดขนาดนั้นคงต้องส่งผลทางจิตวิทยากับผู้บริโภคและนักลงทุนในประเทศแน่นอน ทำให้ธนาคารต้องปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรือบรรดาธุรกิจใต้ดินที่ปั่นบัญชี ทำงานประสานกับ นักบัญชี นักประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน และนายธนาคารที่พร้อมจะปล่อยสินเชื่อ จนเกิดเป็น NPL ในที่สุด มากๆเข้าก็กลับมาเป็นฟองสบู่อีก เห็นมาแล้วที่ธนาคารประเมินหลักทรัพย์พลาด มีทั้งที่เจตนาหรือประเภทที่ถูกนักบัญชีหลอกอีกที