Saturday, October 31, 2009

ภาวะตาแห้งของผมเป็นภาวะที่เกิดจากการผ่าตัดกระจกตา ไม่ใช่ภาวะตาแห้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ หรือที่เกิดกับผู้สูงอายุ

คุณเคยรู้สึกตาแห้ง ตาพร่ามัว หรือฝืดเคืองตา ต้องกระพริบตาถี่ๆ คล้ายมีเศษผงเข้าตา จนทำให้มองภาพไม่ชัด หรือบางครั้ง มีขี้ตาออกมาเป็นเมือกเหนียวกันบ้างไหมคะ ถ้ามีแสดงว่าคุณกำลังมีอาการตาแห้งแล้วล่ะ
สำรวจสาเหตุของอาการตาแห้ง
ตาแห้ง เป็นอาการที่มีความผิดปกติของน้ำตา โดยปกติดวงตาของคนเรา จะมีปริมาณน้ำตาเพียงพอที่จะมาหล่อเลี้ยง หรือให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา รวมถึงฉาบกระจกตา ทำให้การมองเห็นชัดเจน
ส่วนอาการตาแห้งเกิดจากการมีปริมาณน้ำตาน้อย หรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งน้ำตาที่ดีมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ไขมัน น้ำใส และเมือก หากส่วนประกอบ 1 ใน 3 ของน้ำตาขาดความสมดุลหรือไม่มีคุณภาพ จะทำให้ตาแห้งได้
อาการนี้เป็นได้ทุกเพศ แต่มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจะพบมากขึ้นตามวัย โดยเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้สารคัดหลั่งต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งน้ำตาก็ลดปริมาณลงไปด้วย นอกจากนี้ อาการดังกล่าวยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ ดังนี้


ภาวะที่ทำให้เส้นประสาทรับความรู้สึกที่ตาลดลง เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีคุณภาพ การผ่าตัดกระจกตาหรือเปลี่ยนกระจกตา การอักเสบของกระจกตาจากเชื้อเริม นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเป็นอัมพฤกษ์ที่ใบหน้า


โรคที่ผิดปกติทางภาวะภูมิคุ้มกัน (Autoimmune) เช่น โรค Sjogren's Syndrome ซึ่งมีอาการตาแห้ง ร่วมกับข้ออักเสบและปากแห้ง โรคข้อบางชนิด หรือโรคเอดส์


โรคบางชนิด ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบกับเยื่อบุตา เช่น กลุ่มอาการแพ้ยา อย่างสตีเวนจอห์นสัน (Stevens-Johnson) ริดสีดวงตา และเบาหวาน


การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด


การทำงานของเปลือกตาบกพร่อง เช่น หลับตาไม่สนิท กะพริบตาน้อย เปลือกตาผิดรูป


สภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่มีอากาศแห้ง หรือมีฝุ่นควัน ลม และแดดจ้า


อาชีพที่ต้องใช้สายตาจ้องเป็นเวลานาน เช่น พนักงานคอมพิวเตอร์ ช่างอ๊อกเหล็ก หรือยามที่เฝ้ากล้องวงจรปิด
แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจกันไปค่ะ เพราะผู้ที่มีอาการตาแห้งส่วนใหญ่มักเป็นในระดับไม่รุนแรง แค่ก่อความรำคาญใจ แต่ไม่ทำให้ตาบอดได้
เทคนิคเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา


กระพริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20 - 22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าในขณะที่จ้อง หรือเพ่งตาค้างไว้นานกว่าปกติ เช่น เวลาที่เราอ่านหนังสือ ดูทีวีหรือจ้องคอมพิวเตอร์ จะทำให้เรากระพริบตาเพียง 8 - 10 ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมาก ทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้น จึงควรพักสายตาระยะสั้นๆ โดยการหลับตา หรือกระพริบตาอย่างช้าๆ หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถประมาณ 2 - 3 นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง


ประคบดวงตาด้วยน้ำเย็น แช่ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2 ผืนในน้ำเย็น หยิบขึ้นมา 1 ผืน บิดพอหมาดและพับทบเป็นผืนยาว วางปิดดวงตาไว้ทั้งสองข้างนานประมาณ 20 นาที หรือจนกว่าผ้าจะหายเย็น แล้วจึงใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งประคบ สลับกันไปมา จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาของคุณได้เช่นกัน
กินอาหารลดอาการตาแห้ง


กล้วย กินกล้วยทุกวัน เพราะกล้วยมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะทำงานร่วมกับโซเดียมเพื่อรักษาภาวะสมดุลน้ำในร่างกาย และช่วยให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นอยู่เสมอ


ถั่วประเภทนัท (Nut) ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะวอลนัต ควรรับประทานวันละประมาณ 1 กำมือ เพราะถั่วประเภทนี้มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำตา


ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่าหรือปลาแซลมอน เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นหรือโอเมก้า-3 ด้วย


น้ำมันปอ (Flexseed oil) หรือน้ำมันเมล็ดลินิน จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างเพียงพอ โดยรับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ หรือผสมในซีเรียลแล้วรับประทานก็ได้
ปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม


หลีกเลี่ยงการทำงานในบริเวณที่มีแสงจ้าและลมแรง เพราะจะทำให้ตาแห้งเร็ว ควรใส่แว่นกันแดดช่วย โดยเลือกแว่นขนาดใหญ่ที่มีขอบด้านข้าง เพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำตา


หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศแห้ง และเย็นจัด เช่น ห้องปรับอากาศ ตลอดจนหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองและควันต่าง ๆ เช่น บุหรี่ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองตา


อย่าเป่าลมร้อนจากเครื่องเป่าผมเข้าตาโดยตรง รวมทั้งปรับไม่ให้เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเป่าโดนตาหรือใบหน้าโดยตรง


พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนไม่พออาจทำให้ตาแห้งและตาแดงช้ำ เนื่องจากเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงดวงตาบวม การพักผ่อนให้สมดุลจึงดีต่อดวงตาที่สุด

ที่มา http://www.yourhealthyguide.com/article/an-4food-dry-eye.html
การรักษาโรคตาแห้ง

การรักษาโรคตาแห้ง มีหลายวิธีที่สามารถปฏิบัติเองได้ง่ายๆ จนถึงต้องพบจักษุแพทย์ วิธีการรักษามีดังนี้

1. ลดการระเหยของน้ำตาให้น้อยลง เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีคือ หลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับแดดและลม โดยสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่นั่งในที่ที่มีลมพัดหรือแอร์เป่าใส่หน้า

2. กระกระพริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20 - 22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดผิวน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าในขณะที่จ้องหรือเพ่งตาจะลืมค้างไว้นานกว่าปกติ ทำให้กะรพริบตาเพียง 8 - 10 ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมาก ทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้นจึงควรพักสายตา โดยการหลับตา กระพรบตา หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ ประมาณ 2 - 3 นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง

3. สำหรับผู้ที่ตาแห้งมาก อาจใช้กรอบแว่นชนิดพิเศษที่มีแผ่นคลุมปิดกันลมด้านข้าง แว่นชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยครอบทั้งดวงตาและป้องกันลมด้วย หรือจะใช้แผ่นซิลิโคนชนิดพิเศษที่ใสบางและนุ่ม นำมาตัดให้เข้ากับด้านข้างของกรอบแว่นตาคู่เดิม ซึ่งเรียกว่า Moist Chamber

4. ใช้น้ำตาเทียม น้ำตาเทียมคือ ยาหยอดตาที่ใช้เพื่อหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับผู้ที่ตาแห้ง น้ำตาเทียมมี 2 ชนิดคือ
4.1 น้ำตาเทียมชนิดน้ำ - เหมาะที่จะใช้ในเวลากลางวัน เพราะไม่เหนียวเหนอะหนะ และไม่ทำให้ตามัว แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องหยอดตาบ่อย
4.2 น้ำตาเทียมชนิดเจลและขี้ผึ้ง - มีลักษณะเหนียวหนืด หล่อลื่นและคงความชุ่มชื้นได้นานกว่าชนิดน้ำ แต่จะทำให้ตามัวชั่วขณะหลังป้ายยา จึงควรใช้ป้ายตาแต่น้อยก่อนเข้านอน
การรักษาด้วยวิธีใช้น้ำตาเทียม เวลาในการหยอดตาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการตาแห้ง หากวันใดไม่ถูกลม แล้วรู้สึกสบายตาก็ไม่จำเป็นต้องหยอด แต่ถ้ารู้สึกเคืองตามาก ก็หยอดบ่อยๆ ได้ตามต้องการ

ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม
ผู้ป่วยที่ตาแห้งน้อย หยอดตาไม่กินวันละ 4 - 5 ครั้ง สามารถใช้ยาหยอดตาชนิกขวดที่มีสารกันบูดได้ กรณีผู้ป่วยที่ตาแห้งมาก และหยอดตามากกว่าวันละ 6 ครั้ง จักษุแพทย์จะสั่งน้ำตาเทียมชนิดพิเศษที่ไม่มีสารกันบูด (Preservative-Free Tear) ให้ใช้แทน ซึ่งมีข้อจำกัดก็คือ ยาจะบรรจุในหลอดเล็ก เมื่อเปิดใช้แล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 16 ชั่วโมง หากใช้นานกว่านี้ อาจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

5. การอุดรูระบายน้ำตา สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งอย่างรุนแรง จักษุแพทย์จะใช้วิธีอุดรูระบายน้ำตาเพื่อขังน้ำตาที่มีอยู่ให้หล่อเลี้ยงตาอยู่ได้นานๆ ไม่ปล่อยให้ไหลทิ้งไป เหมือนกับการสร้างเขื่อนกั้นเก็บกักน้ำไว้ใช้
วิธีและขั้นตอนในการอุดรูระบายน้ำตามี 2 วิธี คือ การอุดแบบชั่วคราว และการอุดแบบถาวร --- สำหรับการอุดแบบชั่วคราว จักษุแพทย์จะสอดคอลลาเจนขนาดเล็กเข้าไปในรูท่อน้ำตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตาขึ้น โดยคอลลาเจนจะสลายไปเอง ภายใน 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาแห้งมาก จักษุแพทย์จะอุดรูระบายน้ำตาแบบถาวรให้ ทั้งนี้ จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

ที่มา http://www.happyoppy.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=460576&Ntype=5

Tuesday, October 27, 2009

วันนี้เป็นวันสำคัญเพราะออกจากกินเจเป็นวันแรก และได้รับ email จากอาจารย์

"อกหักดีกว่ารักไม่เป็น... เพราะอกหักยังมีรักใหม่ได้... แต่ถ้ารักไม่เป็น... ถึงจะมีรักก็ไม่สามารถรักษาความรักนั้นให้อยู่ได้" :( เบื่อตัวเองจริงๆ!